เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 34. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง
เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ
วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนา-
พละ อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ
วิราคานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ ปฏินิส-
สัคคานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปชื่อว่าวิปัสสนาพละ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูป ฯลฯ ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชรา
และมรณะชื่อว่าวิปัสสนาพละ
คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะไม่หวั่นไหวเพราะราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่น
ไหวเพราะสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะ
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหว
ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียงเพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ
เพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
คำว่า ด้วยการระงับสังขาร 3 อธิบายว่า ด้วยการระงับสังขาร 3 เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจารที่เป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมระงับไป ลมหายใจ
เข้าหายใจออกที่เป็นกายสังขาร ของท่านผู้เข้าจตุตถฌานย่อมระงับไป สัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :142 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 34. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
และเวทนาที่เป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมระงับไปด้วยการ
ระงับสังขาร 3 นี้
[84] คำว่า ด้วยญาณจริยา 16 อธิบายว่า ด้วยญาณจริยา 16 เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา
อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิราคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิวัฏฏนานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิมรรคชื่อว่า
ญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิมรรคชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตมรรคชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผล-
สมาบัติชื่อว่าญาณจริยา ด้วยญาณจริยา 16 นี้
[85] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา 9 อธิบายว่า ด้วยสมาธิจริยา 9 เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ทุติยฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ตติยฌาน
ชื่อว่าสมาธิจริยา จตุตถฌานชื่อว่าสมาธิจริยา อากาสานัญจายนตสมาบัติ ฯลฯ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา ด้วยสมาธิจริยา 9 นี้
คำว่า วสี อธิบายว่า วสี 5 ประการ ได้แก่
1. อาวัชชนาวสี (ชำนาญในการคำนึงถึง)
2. สมาปัชชนวสี (ชำนาญในการเข้า)
3. อธิฏฐานวสี (ชำนาญในการอธิษฐาน)
4. วุฏฐานวสี (ชำนาญในการออก)
5. ปัจจเวกขณาวสี (ชำนาญในการพิจารณา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :143 }