เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 34. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
34. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
แสดงนิโรธสมาปัตติญาณ
[83] ปัญญาที่มีความชำนาญในการระงับสังขาร 3 ด้วยญาณจริยา 16
และด้วยสมาธิจริยา 9 เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ 2 อย่าง ชื่อว่านิโรธ-
สมาปัตติญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า พละ 2 อย่าง อธิบายว่า พละ 2 อย่าง ได้แก่
1. สมถพละ
2. วิปัสสนาพละ
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา
ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ
ชื่อว่าสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า
สมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
ไม่หวั่นไหวเพราะปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะสุขและ
ทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหว
เพราะอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ
เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :141 }