เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 33. อรณวิหารญาณนิทเทส
อนัตตานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและ
มรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนัตตานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
คำว่า วิหาราธิคมที่สงบ อธิบายว่า สุญญตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
อนิมิตตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ อัปปณิหิตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
คำว่า ปณีตาธิมุตตตา อธิบายว่า ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ว่าง ชื่อว่า
ปณีตาธิมุตตตา ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีนิมิตชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา ความที่
จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีปณิหิตะ(ที่ตั้ง) ชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ปฐมฌานชื่อว่าอรณวิหาร ทุติยฌานชื่อว่าอรณ-
วิหาร ตติยฌานชื่อว่าอรณวิหาร จตุตถฌานชื่อว่าอรณวิหาร อากาสานัญจายตนสมาบัติ
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าอรณวิหาร
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร
เพราะกำจัดวิตกวิจารได้ด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดปีติได้ด้วย
ตติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดสุขและทุกข์ได้ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่า
อรณวิหาร เพราะกำจัดรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาได้ด้วยอากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากาสานัญจายตนสัญญาได้ด้วย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดวิญญาณัญจายตนสัญญา
ได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากิญจัญญายตน-
สัญญาได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิ-
มุตตตาปัญญา ชื่อว่าอรณวิหารญาณ
อรณวิหารญาณนิทเทสที่ 33 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :140 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 34. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
34. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
แสดงนิโรธสมาปัตติญาณ
[83] ปัญญาที่มีความชำนาญในการระงับสังขาร 3 ด้วยญาณจริยา 16
และด้วยสมาธิจริยา 9 เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ 2 อย่าง ชื่อว่านิโรธ-
สมาปัตติญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า พละ 2 อย่าง อธิบายว่า พละ 2 อย่าง ได้แก่
1. สมถพละ
2. วิปัสสนาพละ
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา
ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ
ชื่อว่าสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า
สมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
ไม่หวั่นไหวเพราะปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะสุขและ
ทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหว
เพราะอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ
เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :141 }