เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 33. อรณวิหารญาณนิทเทส
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์
แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
อานันตริกสมาธิญาณนิทเทสที่ 32 จบ

33. อรณวิหารญาณนิทเทส
แสดงอรณวิหารญาณ
[82] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า
อรณวิหารญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ทัสสนาธิปไตย อธิบายว่า อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนิจจานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :139 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 33. อรณวิหารญาณนิทเทส
อนัตตานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและ
มรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนัตตานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
คำว่า วิหาราธิคมที่สงบ อธิบายว่า สุญญตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
อนิมิตตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ อัปปณิหิตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
คำว่า ปณีตาธิมุตตตา อธิบายว่า ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ว่าง ชื่อว่า
ปณีตาธิมุตตตา ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีนิมิตชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา ความที่
จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีปณิหิตะ(ที่ตั้ง) ชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ปฐมฌานชื่อว่าอรณวิหาร ทุติยฌานชื่อว่าอรณ-
วิหาร ตติยฌานชื่อว่าอรณวิหาร จตุตถฌานชื่อว่าอรณวิหาร อากาสานัญจายตนสมาบัติ
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าอรณวิหาร
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร
เพราะกำจัดวิตกวิจารได้ด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดปีติได้ด้วย
ตติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดสุขและทุกข์ได้ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่า
อรณวิหาร เพราะกำจัดรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาได้ด้วยอากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากาสานัญจายตนสัญญาได้ด้วย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดวิญญาณัญจายตนสัญญา
ได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากิญจัญญายตน-
สัญญาได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิ-
มุตตตาปัญญา ชื่อว่าอรณวิหารญาณ
อรณวิหารญาณนิทเทสที่ 33 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :140 }