เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 32. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วย
อำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับกายสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจ
ออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้
แจ้งสุขหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับ
จิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิต
ให้บันเทิงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการตั้งจิตไว้หายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งการตั้งจิตไว้หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความดับหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละ
คืนหายใจเข้า ฯลฯ
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมาธิ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการ
ฉะนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :138 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 33. อรณวิหารญาณนิทเทส
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์
แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
อานันตริกสมาธิญาณนิทเทสที่ 32 จบ

33. อรณวิหารญาณนิทเทส
แสดงอรณวิหารญาณ
[82] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า
อรณวิหารญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ทัสสนาธิปไตย อธิบายว่า อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนิจจานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :139 }