เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 32. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ชื่อว่าสมาธิ
ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งธัมมววัตถาน ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปามุชชะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
จตุตถฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวาโยกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งนีลกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปีตกสิณ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งโอทาตกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
อากาสกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุสสติ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งธัมมานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสังฆานุสสติ ฯลฯ ด้วย
อำนาจแห่งสีลานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งจาคานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
เทวตานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอานาปานัสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งมรณัสสติ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งกายคตาสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอุปสมานุสสติ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวินีลกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวิปุพพกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิจฉิททกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
วิกขายิตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
หตวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
ปุฬวกสัญญา ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอัฏฐิก-
สัญญา ชื่อว่าสมาธิ ฯลฯ
[81] ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว
ชื่อว่าสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ
ออกยาว ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :137 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 32. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วย
อำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับกายสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจ
ออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้
แจ้งสุขหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับ
จิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิต
ให้บันเทิงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการตั้งจิตไว้หายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งการตั้งจิตไว้หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความดับหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละ
คืนหายใจเข้า ฯลฯ
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมาธิ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการ
ฉะนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :138 }