เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 29-31. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาปณิธิ1 (ความตั้งมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งปณิธิ
ด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ2 นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณาอภินิเวส3 (ความยึดมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่ง
อภินิเวสด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็น
สุญญตะ4 นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่
มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร-
สมาบัติ

เชิงอรรถ :
1 ปณิธิ หมายถึงตัณหา (ขุ.ป.อ. 1/78/323)
2 นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ หมายถึงนิพพานที่เป็นปฏิปักข์ต่อตัณหา (ขุ.ป.อ. 1/78/323)
3 อภินิเวส หมายถึงความยึดมั่นว่าอัตตา (ขุ.ป.อ. 1/78/323)
4 นิพพานที่เป็นสุญญตะ หมายถึงนิพพานที่ปราศจากอัตตา (ขุ.ป.อ. 1/78/323)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :132 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 29-31. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ
[79] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร
เมื่อพิจารณารูปปณิธิ (ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้อง
แล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวส (ความยึดมั่นว่ารูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มี
ปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :133 }