เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
(ภพที่เป็นอรูปาวจร) ... สัญญาภพ (ภพที่มีสัญญา) ... อสัญญาภพ (ภพที่ไม่มีสัญญา)
... เนวสัญญานาสัญญาภพ (ภพที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ... เอกโวการภพ
(ภพที่มีโวการเดียว1) ... จตุโวการภพ (ภพที่มี 4 โวการ2) ... ปัญจโวการภพ
(ภพที่มี 5 โวการ3) ควรรู้ยิ่ง
[6] ปฐมฌาน ควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... เมตตาเจโต-
วิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจเมตตา) ... กรุณาเจโตวิมุตติ (ความหลุด
พ้นแห่งจิตด้วยอำนาจกรุณา) ... มุทิตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วย
อำนาจพลอยยินดี) ... อุเบกขาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจการวาง
ตนเป็นกลาง) ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดอากาศคือช่องว่าง
หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดวิญญาณ
หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดภาวะที่ไม่มี
อะไร ๆ เป็นอารมณ์) ... เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติเข้าถึงภาวะมี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ควรรู้ยิ่ง
อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ควรรู้ยิ่ง สังขาร (สภาพที่ปรุงแต่ง) ... วิญญาณ
(ความรู้แจ้งอารมณ์) ... นามรูป (รูปและนาม) ... สฬายตนะ (อายตนะ 6) ... ผัสสะ
(ความกระทบ) ... เวทนา (ความเสวยอารมณ์) ... ตัณหา (ความทะยานอยาก) ...
อุปาทาน (ความยึดถือ) ... ภพ (ภาวะชีวิต) ... ชาติ (ความเกิด) ... ชราและมรณะ
(ความแก่และความตาย) ควรรู้ยิ่ง
[7] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธ (ความ
ดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย (เหตุให้เกิดรูป) ควรรู้ยิ่ง รูปนิโรธ (ความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง
รูปนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
1 คำว่า โวการเดียว หมายถึงขันธ์เดียวคือรูปขันธ์ (ขุ.ป.อ.1/5/97)
2 คำว่า 4 โวการ หมายถึงอรูปขันธ์ 4 (ขุ.ป.อ.1/5/97)
3 คำว่า 5 โวการ หมายถึงขันธ์ 5 (ขุ.ป.อ.1/5/97)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :13 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย (เหตุให้เกิดชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง
ชรามรณนิโรธ (ความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งรูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา
ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งชรา-
มรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควร
เจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละ
แห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :14 }