เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 25-28. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ญาณในธรรม 5 ประการ ญาณในอรรถ 5 ประการ ญาณในนิรุตติ 10
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ
เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม วิริยสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าธรรม ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปีติสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรม
ต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เลือกเฟ้นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่แผ่ซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่สงบชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่พิจารณาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตั้งมั่นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่เลือกเฟ้นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่แผ่ซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่สงบเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่
ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่พิจารณาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้น
นั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่า
อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม 7 ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 7 ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :129 }