เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 25-28. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
25-28. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
แสดงปฏิสัมภิทาญาณ
[76] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรม
ต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัม-
ภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ สัทธินทรีย์ชื่อว่าธรรม วิริยินทรีย์ชื่อว่าธรรม สตินทรีย์ชื่อว่าธรรม
สมาธินทรีย์ชื่อว่าธรรม ปัญญินทรีย์ชื่อว่าธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (1)
สภาวะที่น้อมไปชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่
น้อมไปเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เห็น
เป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (2)
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม 5 ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :127 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 25-28. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ญาณในธรรม 5 ประการ ญาณในอรรถ 5 ประการ ญาณในนิรุตติ 10 ประการ
ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
ปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (4)
[77] สัทธาพละชื่อว่าธรรม วิริยพละชื่อว่าธรรม สติพละชื่อว่าธรรม
สมาธิพละชื่อว่าธรรม ปัญญาพละชื่อว่าธรรม สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหว
เพราะความเกียจคร้านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทชื่อว่า
อรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะ
อวิชชาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะเป็น
อรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจร
รู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถ-
ปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม 5 ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :128 }