เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 20-24. ญาณปัญจกนิทเทส
ความดำริต่าง ๆ อาศัยสัญญาต่าง ๆ เกิดขึ้น ฉันทะต่าง ๆ อาศัยความดำริต่าง ๆ
เกิดขึ้น ความเร่าร้อนต่าง ๆ อาศัยฉันทะต่าง ๆ เกิดขึ้น การแสวงหาต่าง ๆ อาศัย
ความเร่าร้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น ลาภต่าง ๆ อาศัยการแสวงหาต่าง ๆ เกิดขึ้น
นี้คือความต่าง 9 ประการ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม 9 ประการ ชื่อว่า
ธัมมนานัตตญาณ
ธัมมนานัตตญาณนิทเทสที่ 19 จบ

20-24. ญาณปัญจกนิทเทส
แสดงญาณ 5 หมวด
[75] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้) ปัญญา
เครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา) ปัญญาเครื่อง
ละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ) ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่า
เอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว) ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่า
ผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง) เป็นอย่างไร
คือ ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ธรรมใด ๆ
ที่พระโยคาวจรกำหนดรู้แล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันพิจารณาแล้ว ธรรมใด ๆ ที่พระ
โยคาวจรละได้แล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นอันละได้แล้ว ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรเจริญแล้ว
ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นธรรมมีรสเป็นอันเดียว ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรทำให้แจ้งแล้ว
ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันถูกต้องแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ ปัญญา
เครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ
ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสส-
นัฏฐญาณ

ญาณปัญจกนิทเทสที่ 20-24 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :126 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 25-28. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
25-28. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
แสดงปฏิสัมภิทาญาณ
[76] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรม
ต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัม-
ภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ สัทธินทรีย์ชื่อว่าธรรม วิริยินทรีย์ชื่อว่าธรรม สตินทรีย์ชื่อว่าธรรม
สมาธินทรีย์ชื่อว่าธรรม ปัญญินทรีย์ชื่อว่าธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (1)
สภาวะที่น้อมไปชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่
น้อมไปเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เห็น
เป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (2)
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม 5 ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :127 }