เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 18. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
รูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน1 ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด (ชั้นพรหมปาริสัชชา) เบื้องบนกำหนด
เอาพรหมชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ
อรูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในอรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนด
เอาเหล่าพรหมผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิ
อปริยาปันนภูมิ เป็นอย่างไร
คือ มรรค ผล ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุ่งแต่ง (นิพพาน) เป็นอปริยาปันนะ นี้ชื่อว่า
อปริยาปันนภูมิ
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ 4
ภูมิ 4 อีกนัยหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
ฌาน 4 อัปปมัญญา 4 อรูปาวจรสมาบัติ 4 ปฏิสัมภิทา 4 ปฏิปทา 4
อารมณ์ 4 อริยวงศ์ 42 สังคหวัตถุ 4 จักร 4 ธรรมบท 43
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ 4
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม 4 ประการ ชื่อว่า
ภูมินานัตตญาณ

ภูมินานัตตญาณนิทเทสที่ 18 จบ

เชิงอรรถ :
1 สุขในปัจจุบัน ในที่นี้หมายถึงความสุขขณะที่ดำรงอยู่ในภาวะที่รู้แจ้งนั้น (ขุ.ป.อ. 1/73/313)
2 อริยวงศ์ 4 ได้แก่ (1) ความสันโดษในจีวร (2) ความสันโดษในบิณฑบาต (3) ความสันโดษในเสนาสนะ
(4) ความยินดีในการเจริญภาวนา (ขุ.ป.อ. 1/72/315)
3 ธรรมบท 4 ในที่นี้ ได้แก่ (1) อนภิชฌา (2) อพยาบาท (3) สัมมาสติ (4) สัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. 1/72/316)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :122 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 19. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
19. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
แสดงธัมมนานัตตญาณ
[73] ปัญญาในการกำหนดธรรม 9 ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ เป็นอย่างไร
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็น
ฝ่ายอัพยากฤต กำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนด
อรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนดอปริยาปันนธรรมเป็น
ฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกุศลกรรมบถ 101 เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอกุศล-
กรรมบถ 102 เป็นฝ่ายอกุศล กำหนดรูป วิบาก และกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกําหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดฌาน 4 ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล
กำหนดฌาน 4 ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจร
กำหนดรูปาวจรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ 4 ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้
เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอรูปาวจรสมาบัติ 4 ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนั้น เป็น

เชิงอรรถ :
1 กุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ กายสุจริต 3 วจีสุจริต 4 และมโนสุจริต 3 (ขุ.ป.อ. 1/73/317)
2 อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ กายทุจริต 3 วจีทุจริต 4 และมโนทุจริต 3 (ขุ.ป.อ. 1/73/317)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :123 }