เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 18. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติในญาณ
ญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณจริยา
นี้ชื่อว่าญาณจริยา วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ
จริยานานัตตญาณนิทเทสที่ 17 จบ

18. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
แสดงภูมินานัตตญาณ
[72] ปัญญาในการกำหนดธรรม 4 ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ
เป็นอย่างไร
คือ ภูมิ 4 ประการ ได้แก่
1. กามาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม)
2. รูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป)
3. อรูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป)
4. อปริยาปันนภูมิ (ชั้นที่ไม่นับเนื่องในภูมิ 3 หมายถึงโลกุตตรภูมิ)
กามาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ท่องเที่ยว
อยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างกำหนดเอาอเวจีนรกเป็นที่สุด
เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ากามาวจรภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :121 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 18. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
รูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน1 ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด (ชั้นพรหมปาริสัชชา) เบื้องบนกำหนด
เอาพรหมชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ
อรูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในอรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนด
เอาเหล่าพรหมผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิ
อปริยาปันนภูมิ เป็นอย่างไร
คือ มรรค ผล ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุ่งแต่ง (นิพพาน) เป็นอปริยาปันนะ นี้ชื่อว่า
อปริยาปันนภูมิ
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ 4
ภูมิ 4 อีกนัยหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
ฌาน 4 อัปปมัญญา 4 อรูปาวจรสมาบัติ 4 ปฏิสัมภิทา 4 ปฏิปทา 4
อารมณ์ 4 อริยวงศ์ 42 สังคหวัตถุ 4 จักร 4 ธรรมบท 43
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ 4
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม 4 ประการ ชื่อว่า
ภูมินานัตตญาณ

ภูมินานัตตญาณนิทเทสที่ 18 จบ

เชิงอรรถ :
1 สุขในปัจจุบัน ในที่นี้หมายถึงความสุขขณะที่ดำรงอยู่ในภาวะที่รู้แจ้งนั้น (ขุ.ป.อ. 1/73/313)
2 อริยวงศ์ 4 ได้แก่ (1) ความสันโดษในจีวร (2) ความสันโดษในบิณฑบาต (3) ความสันโดษในเสนาสนะ
(4) ความยินดีในการเจริญภาวนา (ขุ.ป.อ. 1/72/315)
3 ธรรมบท 4 ในที่นี้ ได้แก่ (1) อนภิชฌา (2) อพยาบาท (3) สัมมาสติ (4) สัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. 1/72/316)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :122 }