เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 17. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่ออนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) อันเป็นเพียงกิริยา
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา อนัตตานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
ความคิดเพื่อนิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อนิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อขยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออนิมิตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อสุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :119 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 17. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่ออธิปัญญาธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อยถาภูตญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นโทษ) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ปฏิสังขานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
วิวัฏฏนานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายออก) ชื่อว่าญาณจริยา
โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
สกทาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
คำว่า ญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่มีโทสะ ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า
ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่า
ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ฯลฯ
ไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอนุสัย
ฯลฯ ประกอบด้วยกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบ
ด้วยกรรมที่มีโทษ ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่ไม่มีโทษ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยกรรมดำ
ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมขาว ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ฯลฯ ไม่
ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :120 }