เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 17. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่อดมกลิ่นอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
ฆานวิญญาณที่เป็นแต่เพียงดมกลิ่น ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ดมกลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว
ความคิดเพื่อลิ้มรสอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
ชิวหาวิญญาณที่เป็นแต่เพียงลิ้มรส ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้มรสแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รสแล้ว
ความคิดเพื่อสัมผัสโผฏฐัพพะอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณ-
จริยา กายวิญญาณที่เป็นแต่เพียงสัมผัสโผฏฐัพพะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้สัมผัสโผฏฐัพพะแล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้ว
ความคิดเพื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นแต่เพียงรู้แจ้งธรรมารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์แล้ว
[69] คำว่า วิญญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่มีโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีโมหะ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีมานะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มี
ทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :115 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 17. จริยานานัตตญาณนิทเทส
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัย ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วย
กรรมไม่มีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมขาว ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติใน
อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา
จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะไม่มีกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา นี้ชื่อว่า
วิญญาณจริยา
อัญญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะ
ทั้งสองนั้น อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งมานะที่ผูกพัน อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :116 }