เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
รูปวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับ
เสียง) ... คันธวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรส) ...
โผฏฐัพพวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิจาร (ความตรองเกี่ยว
กับธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
[4] ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ... เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ...
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ... อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง) ... วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)
ควรรู้ยิ่ง
ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ) ... เตโชกสิณ
(กสิณคือไฟ) ... วาโยกสิณ (กสิณคือลม) ... นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว) ... ปีตกสิณ
(กสิณคือสีเหลือง) ... โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง) ... โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว) ...
อากาสกสิณ (กสิณคือช่องว่าง) ... วิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง
ผมควรรู้ยิ่ง ขน ... เล็บ ... ฟัน ... หนัง ... เนื้อ ... เอ็น ... กระดูก ... เยื่อในกระดูก
... ไต1... หัวใจ ... ตับ ... พังผืด ... ม้าม2... ปอด ... ไส้ใหญ่ ...ไส้น้อย ... อาหารใหม่
อาหารเก่า ... ดี ... เสลด ... หนอง ... เลือด ... เหงื่อ ... มันข้น ... น้ำตา ... เปลวมัน
... น้ำลาย ... น้ำมูก ... ไขข้อ ... มูตร3... มันสมองควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
1 ไต แปลจากคำบาลีว่า วกฺก (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ก้อนเนื้อ 2 ก้อนมีขั้วเดียวกัน มีสีแดงอ่อน
เหมือนเมล็ดทองหลาง รูปร่างคล้ายลูกสะบ้าของเด็ก ๆ หรือคล้ายผลมะม่วง 2 ผล ที่ติดอยู่ที่ขั้วเดียวกัน
มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจแล้วแยกออกมาห้อยอยู่ทั้ง 2 ข้าง (ขุ.ขุ.อ. 3/43), พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 362 ให้บทนิยามของคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคน
และสัตว์อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ”, Buddhadatta,
A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985,(P. 224) ; และ Phys David, T.W. Pali-English
Dictionary, 1921-1925, (P. 591) ให้ความหมายของคำว่า วกฺก ตรงกัน หมายถึง ไต (Kidney)
2 ม้าม แปลจากคำบาลีว่า ปิหก (โบราณแปลว่า ไต) มีสีเขียวเหมือนดอกคนทิสอแห้ง รูปร่างคล้ายลิ้นลูก
โคถึกดำ ยาวประมาณ 7 นิ้ว อยู่ด้านบนติดกับหัวใจข้างซ้ายชิดพื้นท้องด้านบน (ขุ.ขุ.อ. 3/45);
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 647 ให้บทนิยามของคำว่า “ม้าม” ไว้ว่า
“อวัยวะภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดน้ำเหลืองและ
สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย” Buddhadatta, A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985, (P.186);
และ Rhys David, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (P.461) ให้ความหมายของคำว่า ปิหก
ตรงกัน หมายถึง ม้าม (spleen)
3 มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่มีอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. 3/51)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :11 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
จักขายตนะ (อายตนะคือตา) ควรรู้ยิ่ง รูปายตนะ (อายตนะคือรูป) ...
โสตายตนะ (อายตนะคือหู) ... สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ... ฆานายตนะ
(อายตนะคือจมูก) ... คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) ... ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
... รสายตนะ (อายตนะคือรส) ... กายายตนะ (อายตนะคือกาย) ... โผฏฐัพพายตนะ
(อายตนะคือโผฏฐัพพะ) ... มนายตนะ (อายตนะคือใจ) ... ธัมมายตนะ (อายตนะคือ
ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์) ... จักขุ-
วิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ) ... โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท) ... สัททธาตุ
(ธาตุคือสัททารมณ์) ... โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ) ... ฆานธาตุ (ธาตุ
คือฆานปสาท) ... คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์) ... ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆาน-
วิญญาณ) ... ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท) ... รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์) ...
ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ) ... กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท) ...
โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์) ... กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
... มโนธาตุ (ธาตุคือมโน) ... ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์) ... มโนวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือมโนวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
... ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท) ... ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท) ...
กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท) ... มนินทรีย์ (อินทรีย์คือใจ) ... ชีวิตินทรีย์
(อินทรีย์คือชีวิต) ... อิตถินทรีย์ (อินทรีย์คืออิตถีภาวะ) ... ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์คือ
ปุริสภาวะ) ... สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา) ... ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
... โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา) ... โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือ
โทมนัสสเวทนา) ... อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา) ... สัทธินทรีย์
(อินทรีย์คือศรัทธา) ... วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) ... สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
... สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ) ... ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) ...
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรมที่
ยังมิได้รู้) ... อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง) ... อัญญาตาวินทรีย์
(อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว) ควรรู้ยิ่ง
[5] กามธาตุ (ธาตุคือกาม) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูป) ... อรูปธาตุ (ธาตุ
คืออรูป) ... กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ... รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) ... อรูปภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :12 }