เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 13. วิมุตติญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความ
พยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากมานะ จากอุทธัจจะ จากถีนมิทธะ จากอวิชชา จากภวราคานุสัย จาก
มานานุสัย จากอวิชชานุสัย ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จาก
ขันธ์ทั้งหลายและออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุด
ความพยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ
ผลญาณนิทเทสที่ 12 จบ

13. วิมุตติญาณนิทเทส
แสดงวิมุตติญาณ
[64] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่า
วิมุตติญาณ เป็นอย่างไร
คือ อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) สีลัพพตปรามาส (การยึดมั่นศีลพรต) ทิฏฐานุสัย
(กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ) วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ใน
สันดานคือวิจิกิจฉา) เป็นกิเลสที่โสดาปัตติมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :104 }