เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 12. ผลญาณนิทเทส
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในความต่างกัน
และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์เหล่านั้น
ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์
และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
มัคคญาณนิทเทสที่ 11 จบ

12. ผลญาณนิทเทส
แสดงผลญาณ
[63] ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความ
พยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมออกจากมิจฉา-
สังกัปปะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น
การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวาจา
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :102 }