เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
[14] (ท่านปุณณกะทูลถาม ดังนี้)
ฤๅษี มนุชะ กษัตริย์ พราหมณ์บางพวกเหล่านี้
จำนวนมากในโลกนี้ พากันบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทในการบูชายัญ
ได้ข้ามชาติและชราได้บ้างไหม
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (3)
คำว่า บางพวกเหล่านี้ ในคำว่า ฤๅษี มนุชะ ... บางพวกเหล่านี้ อธิบายว่า
ฯลฯ1
คำว่า บ้างไหม ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ... ชนเหล่านั้น เป็นผู้ไม่
ประมาทในการบูชายัญ ... บ้างไหม เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถาม
ด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม 2 แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้
หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า
บ้างไหม
คนผู้บูชายัญตรัสเรียกว่า ชนเหล่านั้น
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ2 รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ชน
เหล่านั้น ... บ้างไหม
คำว่า ผู้ไม่ประมาทในการบูชายัญ อธิบายว่า ยัญนั้นแหละตรัสเรียกว่า
ทางแห่งยัญ เปรียบเหมือนอริยมัคคชื่อว่าทางแห่งอริยะ เทวมัคคชื่อว่าทางแห่ง
เทวะ พรหมมัคคชื่อว่าทางแห่งพรหม ฉันใด ยัญก็ชื่อว่าทางแห่งยัญ ฉันนั้น
เหมือนกัน

เชิงอรรถ :
1 ดูรายลเอียดข้อ 13/92
2 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :96 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า ผู้ไม่ประมาท คือ ผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ
ทำไม่หยุด ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ในทางแห่งยัญ ได้แก่
เที่ยวไปเพื่อยัญนั้น มากไปด้วยยัญนั้น หนักในยัญนั้น เอนไปทางยัญนั้น โอนไป
ทางยัญนั้น โน้มไปทางยัญนั้น น้อมใจไปทางยัญนั้น มีทางแห่งยัญนั้นเป็นใหญ่
รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ... ชนเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทในการบูชายัญ
ชนแม้เหล่าใดแสวงหา ค้นหา เสาะหายัญคือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป เป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ฯลฯ มีทางแห่ง
ยัญนั้นเป็นใหญ่ ชนแม้เหล่านั้น ชื่อว่าไม่ประมาทในการบูชายัญ
ชนแม้เหล่าใดปรุงแต่งยัญ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่พัก เครื่องประทีป เป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ฯลฯ มีทางแห่งยัญนั้นเป็นใหญ่
ชนแม้เหล่านั้น ชื่อว่าไม่ประมาทในการบูชายัญ
ชนแม้เหล่าใด ให้ สละ บริจาคยัญ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป เป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ฯลฯ มีทางแห่งยัญนั้นเป็นใหญ่
ชนแม้เหล่านั้น ... ชื่อว่าไม่ประมาทในการบูชายัญ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มี-
พระภาค ... ชนเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทในการบูชายัญ ... บ้างไหม
คำว่า ผู้นิรทุกข์... ได้ข้ามชาติและชราได้บ้างไหม อธิบายว่า ได้ข้าม คือ
ข้ามได้แล้ว ข้ามพ้นแล้ว ก้าวล่วง ล่วงเลยชรา และมรณะได้บ้างไหม
คำว่า ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง รวมความว่า ผู้นิรทุกข์
... ได้ข้ามชาติและชราบ้างไหม
คำว่า ข้าพระองค์ทูลถามปัญหานั้น ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ข้าพระองค์ทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
ด้วยเถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น คือ ทูลขอปัญหานั้น ทูล
อัญเชิญปัญหานั้น ทูลให้ประกาศปัญหานั้น ขอได้โปรดตรัสบอกปัญหานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :97 }