เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
ชนเหล่านั้นอาศัยพยาธิจึงบูชายัญเพราะเหตุใด ชนเหล่านั้นอาศัยมรณะจึง
บูชายัญเพราะเหตุนั้น
ชนเหล่านั้นอาศัยมรณะ จึงบูชายัญเพราะเหตุใด ชนเหล่านั้นอาศัยโสกปริเทว-
ทุกขโทมนัสอุปายาสจึงบูชายัญเพราะเหตุนั้น
ชนเหล่านั้นอาศัยโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส จึงบูชายัญเพราะเหตุใด
ชนเหล่านั้นอาศัยคติจึงบูชายัญเพราะเหตุนั้น
ชนเหล่านั้นอาศัยคติจึงบูชายัญเพราะเหตุใด ชนเหล่านั้นอาศัยอุปบัติจึง
บูชายัญเพราะเหตุนั้น
ชนเหล่านั้นอาศัยอุปบัติจึงบูชายัญเพราะเหตุใด ชนเหล่านั้นอาศัยปฏิสนธิจึง
บูชายัญเพราะเหตุนั้น
ชนเหล่านั้นอาศัยปฏิสนธิจึงบูชายัญเพราะเหตุใด ชนเหล่านั้นอาศัยภพจึง
บูชายัญเพราะเหตุนั้น
ชนเหล่านั้นอาศัยภพจึงบูชายัญเพราะเหตุใด ชนเหล่านั้นอาศัยสงสารจึง
บูชายัญเพราะเหตุนั้น
ชนเหล่านั้นอาศัยสงสารจึงบูชายัญเพราะเหตุใด ชนเหล่านั้นอาศัยวัฏฏะจึง
บูชายัญเพราะเหตุนั้น คือ หวัง เยื่อใย เข้าใกล้ พัวพัน น้อมใจเชื่อ รวมความว่า
อาศัยชราจึงพากันบูชายัญ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ)
ฤๅษี มนุชะ กษัตริย์ พราหมณ์บางพวกเหล่านี้
จำนวนมากในโลกนี้ พากันบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย
ปุณณกะ ชนเหล่านั้นหวังความเป็นอย่างนี้
อาศัยชราจึงพากันบูชายัญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :95 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
[14] (ท่านปุณณกะทูลถาม ดังนี้)
ฤๅษี มนุชะ กษัตริย์ พราหมณ์บางพวกเหล่านี้
จำนวนมากในโลกนี้ พากันบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทในการบูชายัญ
ได้ข้ามชาติและชราได้บ้างไหม
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (3)
คำว่า บางพวกเหล่านี้ ในคำว่า ฤๅษี มนุชะ ... บางพวกเหล่านี้ อธิบายว่า
ฯลฯ1
คำว่า บ้างไหม ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ... ชนเหล่านั้น เป็นผู้ไม่
ประมาทในการบูชายัญ ... บ้างไหม เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถาม
ด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม 2 แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้
หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า
บ้างไหม
คนผู้บูชายัญตรัสเรียกว่า ชนเหล่านั้น
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ2 รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ชน
เหล่านั้น ... บ้างไหม
คำว่า ผู้ไม่ประมาทในการบูชายัญ อธิบายว่า ยัญนั้นแหละตรัสเรียกว่า
ทางแห่งยัญ เปรียบเหมือนอริยมัคคชื่อว่าทางแห่งอริยะ เทวมัคคชื่อว่าทางแห่ง
เทวะ พรหมมัคคชื่อว่าทางแห่งพรหม ฉันใด ยัญก็ชื่อว่าทางแห่งยัญ ฉันนั้น
เหมือนกัน

เชิงอรรถ :
1 ดูรายลเอียดข้อ 13/92
2 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :96 }