เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1 รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ปุณณกะ
คำว่า กษัตริย์ ในคำว่า กษัตริย์ พราหมณ์ ... แก่เทวดาทั้งหลาย ได้แก่
คนพวกใดพวกหนึ่งที่เกิดในวรรณะกษัตริย์
คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้กล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้เจริญ
คำว่า แก่เทวดาทั้งหลาย อธิบายว่า พวกอาชีวกเป็นเทวดาของสาวกของ
อาชีวก ฯลฯ ทิศทั้งหลายเป็นเทวดาของพวกประพฤติทิศาพรต คน สัตว์และสิ่ง
เหล่าใด ผู้ควรแก่ทักษิณาของชนเหล่าใด คน สัตว์และสิ่งเหล่านั้นเป็นเทวดาของ
ชนเหล่านั้น2รวมความว่า กษัตริย์ พราหมณ์ ... แก่เทวดาทั้งหลาย
คำว่า จำนวนมากในโลกนี้ พากันบูชายัญ อธิบายว่า ไทยธรรม ได้แก่ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องประทีป เรียกว่า ยัญ
คำว่า พากันบูชายัญ อธิบายว่า ชนแม้เหล่าใดแสวงหา ค้นหา เสาะหายัญ
คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป ชนแม้เหล่านั้น
ชื่อว่าบูชายัญ
ชนแม้เหล่าใดปรุงแต่งยัญ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ฯลฯ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป ชนแม้เหล่านั้น
ชื่อว่าบูชายัญ
ชนแม้เหล่าใด ให้ สละ บริจาคยัญ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ฯลฯ ที่นอน ที่พักอาศัย เครื่องประทีป ชน
แม้เหล่านั้นก็ชื่อว่าบูชายัญ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48
1 ดูรายละเอียดข้อ 12/47

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :93 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า จำนวนมาก อธิบายว่า ยัญเหล่านั้น มีมาก ผู้บูชายัญเหล่านี้มีมาก
หรือบุคคลผู้ควรแก่ทักษิณามีมากอย่างนี้
คำว่า ในโลกนี้ ได้แก่ ในมนุษยโลก รวมความว่า จำนวนมากในโลกนี้
พากันบูชายัญ
คำว่า หวัง ในคำว่า ปุณณกะ ชนเหล่านั้นหวังความเป็นอย่างนี้ อธิบายว่า
หวัง คือ ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังการได้รูป การได้เสียง
การได้กลิ่น การได้รส การได้โผฏฐัพพะ การได้บุตร การได้ทรัพย์ การได้ยศ
การได้ความเป็นใหญ่ การได้อัตภาพในตระกูลกษัตริย์มหาศาล การได้อัตภาพใน
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล การได้อัตภาพในตระกูลคหบดีมหาศาล การได้อัตภาพ
ในหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชิกา ... ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ... ในหมู่เทพชั้นยามา ...
ในหมู่เทพชั้นดุสิต ... ในหมู่เทพชั้นนิมมานรดี ... ในหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
การได้อัตภาพในหมู่เทพชั้นพรหมกายิกา รวมความว่า หวัง
คำว่า ปุณณกะ... ความเป็นอย่างนี้ อธิบายว่า หวัง คือ ต้องการ ยินดี
ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังการบังเกิดอัตภาพในสถานเหล่านี้ คือ การบังเกิด
อัตภาพในตระกูลกษัตริย์มหาศาลนี้ การบังเกิดอัตภาพในตระกูลคหบดีมหาศาลนี้
การบังเกิดอัตภาพในหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชิกาเหล่านี้ การบังเกิดอัตภาพในหมู่
เทพชั้นดาวดึงส์เหล่านี้ ... ในหมู่เทพชั้นยามาเหล่านี้ ... ในหมู่เทพชั้นดุสิตเหล่านี้
... ในหมู่เทพชั้นนิมมานรดีเหล่านี้ ... ในหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านี้ ...
ในหมู่เทพชั้นพรหมกายิกาเหล่านี้ รวมความว่า ปุณณกะ ชนเหล่านั้นหวังความ
เป็นอย่างนี้
คำว่า อาศัยชราจึงพากันบูชายัญ อธิบายว่า อาศัยชรา คือ อาศัยพยาธิ
อาศัยมรณะ อาศัยโสกะ ปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส
ชนเหล่านั้นอาศัยชาติจึงบูชายัญเพราะเหตุใด ชนเหล่านั้นอาศัยชราจึงบูชายัญ
เพราะเหตุนั้น
ชนเหล่านั้นอาศัยชราจึงบูชายัญเพราะเหตุใด ชนเหล่านั้นอาศัยพยาธิจึงบูชายัญ
เพราะเหตุนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :94 }