เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1 รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ปุณณกะ
คำว่า กษัตริย์ ในคำว่า กษัตริย์ พราหมณ์ ... แก่เทวดาทั้งหลาย ได้แก่
คนพวกใดพวกหนึ่งที่เกิดในวรรณะกษัตริย์
คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้กล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้เจริญ
คำว่า แก่เทวดาทั้งหลาย อธิบายว่า พวกอาชีวกเป็นเทวดาของสาวกของ
อาชีวก ฯลฯ ทิศทั้งหลายเป็นเทวดาของพวกประพฤติทิศาพรต คน สัตว์และสิ่ง
เหล่าใด ผู้ควรแก่ทักษิณาของชนเหล่าใด คน สัตว์และสิ่งเหล่านั้นเป็นเทวดาของ
ชนเหล่านั้น2รวมความว่า กษัตริย์ พราหมณ์ ... แก่เทวดาทั้งหลาย
คำว่า จำนวนมากในโลกนี้ พากันบูชายัญ อธิบายว่า ไทยธรรม ได้แก่ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องประทีป เรียกว่า ยัญ
คำว่า พากันบูชายัญ อธิบายว่า ชนแม้เหล่าใดแสวงหา ค้นหา เสาะหายัญ
คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป ชนแม้เหล่านั้น
ชื่อว่าบูชายัญ
ชนแม้เหล่าใดปรุงแต่งยัญ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ฯลฯ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป ชนแม้เหล่านั้น
ชื่อว่าบูชายัญ
ชนแม้เหล่าใด ให้ สละ บริจาคยัญ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ฯลฯ ที่นอน ที่พักอาศัย เครื่องประทีป ชน
แม้เหล่านั้นก็ชื่อว่าบูชายัญ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48
1 ดูรายละเอียดข้อ 12/47

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :93 }