เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
การถามของอมนุษย์ เป็นอย่างไร
คือ พวกอมนุษย์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าแล้วทูลถามปัญหา คือ
พวกนาคก็ทูลถาม ครุฑก็ทูลถาม ยักษ์ก็ทูลถาม อสูรก็ทูลถาม คนธรรพ์ก็ทูลถาม
ท้าวมหาราชก็ทูลถาม พระอินทร์ก็ทูลถาม พระพรหมก็ทูลถาม เทวดาก็ทูลถาม
นี้ชื่อว่าการถามของอมนุษย์
การถามของรูปเนรมิต เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงเนรมิตพระรูปใด ซึ่งสำเร็จด้วยพระทัย มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง พระรูปเนรมิตนั้น เข้าเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้าแล้ว ก็ทูลถามปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่าการ
ถามของรูปเนรมิต เหล่านี้ชื่อว่าการถามอีก 3 อย่าง
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามเพื่อประโยชน์ตน 2. การถามเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
3. การถามเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามเพื่อประโยชน์ในภพปัจจุบัน 2. การถามเพื่อประโยชน์ในภพหน้า
3. การถามเพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามเพื่อประโยชน์ที่ไม่มีโทษ
2. การถามเพื่อประโยชน์ที่ปราศจากกิเลส
3. การถามเพื่อประโยชน์ที่ผุดผ่อง
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามถึงอดีต 2. การถามถึงอนาคต
3. การถามถึงปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :90 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามถึงเรื่องภายใน 2. การถามถึงเรื่องภายนอก
3. การถามถึงเรื่องทั้งภายในและภายนอก
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามถึงกุศลธรรม 2. การถามถึงอกุศลธรรม
3. การถามถึงอัพยากตธรรม
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามถึงขันธ์ 2. การถามถึงธาตุ
3. การถามถึงอายตนะ
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามถึงสติปัฏฐาน 2. การถามถึงสัมมัปปธาน
3. การถามถึงอิทธิบาท
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามถึงอินทรีย์ 2. การถามถึงพละ
3. การถามถึงโพชฌงค์
การถามอีก 3 อย่าง คือ
1. การถามถึงมรรค 2. การถามถึงผล
3. การถามถึงนิพพาน
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
พระองค์ คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลขอให้ทรงประกาศว่า “ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์เถิด” รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/46-48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :91 }