เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า กษัตริย์ ในคำว่า กษัตริย์ พราหมณ์ ... แก่เทวดาทั้งหลาย ได้แก่
คนพวกใดพวกหนึ่งที่เกิดในวรรณะกษัตริย์
คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ คนพวกใดพวกหนึ่ง ผู้กล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้เจริญ

ว่าด้วยเทวดา
คำว่า แก่เทวดาทั้งหลาย อธิบายว่า พวกอาชีวก เป็นเทวดาของสาวกของ
อาชีวก พวกนิครนถ์ เป็นเทวดาของสาวกของนิครนถ์ พวกชฎิล เป็นเทวดาของ
สาวกของชฎิล พวกปริพาชก เป็นเทวดาของสาวกของปริพาชก พวกดาบส เป็น
เทวดาของสาวกของดาบส ช้าง เป็นเทวดาของพวกประพฤติหัตถีพรต ม้า เป็น
เทวดาของพวกประพฤติอัศวพรต โค เป็นเทวดาของพวกประพฤติโคพรต สุนัข
เป็นเทวดาของพวกประพฤติกุกกุรพรต กา เป็นเทวดาของพวกประพฤติกากพรต
ท้าววาสุเทพ เป็นเทวดาของพวกประพฤติวาสุเทวพรต พลเทพ เป็นเทวดาของ
พวกประพฤติพลเทวพรต ท้าวปุณณภัทร เป็นเทวดาของพวกประพฤติปุณณภัทร-
พรต ท้าวมณีภัทร เป็นเทวดาของพวกประพฤติมณีภัทรพรต ไฟ เป็นเทวดาของ
พวกประพฤติอัคคิพรต นาค เป็นเทวดาของพวกประพฤตินาคพรต ครุฑ เป็น
เทวดาของพวกประพฤติสุปัณณพรต ยักษ์ เป็นเทวดาของพวกประพฤติยักขพรต
อสูร เป็นเทวดาของพวกประพฤติอสุรพรต คนธรรพ์ เป็นเทวดาของพวกประพฤติ
คนธรรพ์พรต ท้าวมหาราช เป็นเทวดาของพวกประพฤติมหาราชพรต พระจันทร์
เป็นเทวดาของพวกประพฤติจันทพรต พระอาทิตย์ เป็นเทวดาของพวกประพฤติ
สุริยพรต พระอินทร์ เป็นเทวดาของพวกประพฤติอินทพรต พรหม เป็นเทวดาของ
พวกประพฤติพรหมพรต ทิศทั้งหลาย เป็นเทวดาของพวกประพฤติทิศาพรต คน
สัตว์และสิ่งเหล่าใด ผู้ควรแก่ทักษิณาของชนเหล่าใด คน สัตว์ และสิ่งเหล่านั้น
เป็นเทวดาของชนเหล่านั้น รวมความว่า กษัตริย์ พราหมณ์ ... แก่เทวดาทั้งหลาย
คำว่า จำนวนมากในโลกนี้ ... จึงพากันบูชายัญ อธิบายว่า ไทยธรรม ได้แก่
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป เรียกว่า ยัญ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :87 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า จึงพากันบูชายัญ อธิบายว่า คนแม้เหล่าใดแสวงหา ค้นหา เสาะหา
ยัญ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป คนแม้เหล่านั้น
ชื่อว่าบูชายัญ
คนแม้เหล่าใด ให้ สละ บริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก
เครื่องประทีป คนแม้เหล่านั้น ชื่อว่าบูชายัญ
คำว่า จำนวนมาก อธิบายว่า ยัญเหล่านี้มาก ผู้บูชายัญก็มาก ผู้ควรแก่
ทักษิณานั้นก็มาก
ยัญเหล่านั้นมาก อย่างไร
ยัญเหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป มี
มากแก่ชนจำนวนมาก ยัญเหล่านั้น ชื่อว่ามาก อย่างนี้บ้าง
ผู้บูชายัญนั้นมาก คือ กษัตริย์ก็มาก พราหมณ์ก็มาก แพศย์ก็มาก ศูทรก็มาก
คฤหัสถ์ก็มาก บรรพชิตก็มาก เทวดาและมนุษย์ก็มาก ผู้บูชายัญมาก อย่างนี้บ้าง
บุคคลผู้ควรทักษิณาเหล่านั้นมาก อย่างไร
คือ บุคคลผู้ควรทักษิณาเหล่านั้น มีมากมาย คือ สมณะก็มาก พราหมณ์
ก็มาก คนกำพร้าก็มาก คนเดินทางก็มาก วณิพกก็มาก และยาจกก็มาก บุคคล
ผู้ควรทักษิณาเหล่านั้น ชื่อว่ามาก อย่างนี้บ้าง
คำว่า ในโลกนี้ คือ ในมนุษยโลก รวมความว่า จำนวนมากในโลกนี้ ...
จึงพากันบูชายัญ

ว่าด้วยการถาม 3
คำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด อธิบายว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :88 }