เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 2. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส
ความหวั่นไหวทั้งหลาย ใครละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ความหวั่นไหวทั้ง
หลายย่อมไม่มีแก่ใคร
คำว่า ใครรู้ชัดส่วนสุดทั้ง 2 ด้านแล้ว ได้แก่ ใครรู้ชัด คือ ทราบ
เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งที่สุดทั้ง 2 ด้านแล้ว รวม
ความว่า ใครรู้ชัดส่วนสุดทั้ง 2 ด้านแล้ว
คำว่า ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา อธิบายว่า ย่อมไม่ยึดติด คือ ไม่
ติดแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว
ในท่ามกลางด้วยปัญญา มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่ยึดติดใน
ท่ามกลางด้วยมันตา
คำว่า พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ อธิบายว่า พระองค์ตรัสเรียก
ใคร คือ ตรัสถึงใคร เข้าพระทัยใคร ทรงกล่าวถึงใคร เห็นใคร แถลงถึงใครว่า
เป็นมหาบุรุษ คือ บุรุษผู้เลิศ บุรุษผู้ประเสริฐ บุรุษผู้วิเศษ บุรุษผู้เป็นหัวหน้า
บุรุษผู้สูงสุด บุรุษผู้เป็นประธาน บุรุษผู้ยอดเยี่ยม รวมความว่า พระองค์ตรัส
เรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ
คำว่า ใครล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ อธิบายว่า ใคร่ล่วงพ้น คือ ล่วง
ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงเลยเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ รวมความว่า ใครล่วงพ้น
เครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านติสสเมตเตยยะทูลถาม ดังนี้)
ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษในโลกนี้
ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร
ใครรู้ชัดส่วนสุดทั้ง 2 ด้านแล้ว
ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา
พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ
ใครล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :74 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 2. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส
[10] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตเตยยะ)
ภิกษุเป็นผู้มีพรหมจรรย์(เพราะเห็นโทษ)ในกามทั้งหลาย
ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ ผู้คลายตัณหาแล้ว
มีสติทุกเมื่อ รู้ธรรมทั้งหลายแล้วดับกิเลสได้
ภิกษุนั้นชื่อว่าไม่มีความหวั่นไหว (2)
คำว่า ภิกษุเป็นผู้มีพรหมจรรย์ (เพราะเห็นโทษ) ในกามทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม1

ว่าด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 เรียกว่าพรหมจรรย์
คำว่า เป็นผู้มีพรหมจรรย์ อธิบายว่า การงด งดเว้น เว้นขาด เจตนางดเว้น
กิริยาที่ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ละเมิด การไม่ก้าวล่วงแดนแห่งการเข้าถึงอสัทธรรม
ตรัสเรียกว่า พรหมจรรย์
อีกนัยหนึ่ง กล่าวโดยตรง อริยมรรคมีองค์ 8 คือ
1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ตรัสเรียกว่า พรหมจรรย์

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 8/66-67

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :75 }