เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สภิยะ)
ผู้ใดควรแก่คำชมเชยว่าเป็นผู้ถึงนิพพานด้วยทางที่ตนทำแล้ว
ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ละความเสื่อมและความเจริญแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นภพใหม่แล้ว ผู้นั้นชื่อว่าภิกษุ1
คำว่า ภิกษุ ... มีสติดำรงอยู่ อธิบายว่า ภิกษุพึงมีสติ ดำรงอยู่ คือ พึง
มีสติเดิน พึงมีสติยืน พึงมีสตินั่ง พึงมีสตินอน พึงมีสติก้าวไปข้างหน้า พึงมีสติ
ถอยกลับ พึงมีสติมองดู พึงมีสติเหลียวดู พึงมีสติคู้เข้า พึงมีสติเหยียดออก
พึงมีสติใช้ผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร พึงมีสติเที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ภิกษุ... มีสติดำรงอยู่
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย
พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง
มีสติดำรงอยู่
พร้อมกับการจบคาถา ธรรมจักษุ2ไร้ธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ได้เกิด
ขึ้นแก่เหล่าเทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มีฉันทะ ความพยายาม ความประสงค์
การอบรมบุญญาบารมีร่วมกันมากับพราหมณ์ จิตของพราหมณ์นั้นก็หลุดพ้นจาก
อาสวะเพราะไม่ถือมั่น หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่นน้ำ ผมและ
หนวดของอชิตพราหมณ์ก็หายไป พร้อมกับการบรรลุอรหัตตผล ท่านเป็นภิกษุ มี
ศีรษะโล้น นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร เพื่อการปฏิบัติเอื้อประโยชน์
จึงประคองอัญชลี นั่งลงนมัสการพระผู้มีพระภาคโดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
อชิตมาณวปัญหานิทเทสที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/520/435, ขุ.ม.(แปล) 29/18/84)
2 ธรรมจักษุ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค (ขุ.จู.อ. 8/9)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :72 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 2. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส
2. ติสสเมตเตยยมาณวปัญหานิทเทส1
ว่าด้วยปัญหาของติสสเมตเตยยมาณพ
[9] (ท่านติสสเมตเตยยะทูลถาม ดังนี้)
ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษในโลกนี้
ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร
ใครรู้ชัดส่วนสุดทั้ง 2 ด้านแล้ว
ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา
พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ
ใครล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ (1)
คำว่า ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษในโลกนี้ อธิบายว่า ใครยินดี สันโดษ คือพอใจ
มีความดำริบริบูรณ์แล้วในโลก รวมความว่า ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษในโลกนี้
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านติสสเมตเตยยะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ เป็น
คำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ
สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า ติสสะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม
การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ
คำว่า เมตเตยยะ เป็นโคตร เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ
ชื่อที่เรียกกันสำหรับพราหมณ์นั้น รวมความว่า ท่านติสสเมตเตยยะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร อธิบายว่า ความหวั่นไหว
เพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหว
เพราะกิเลส ความหวั่นไหวเพราะกาม ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หามิได้แก่ใคร

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1047-1049/532-533)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :73 }