เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
(มีสติด้วยเหตุอีก 10 อย่าง คือ)
1. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
2. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
3. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
4. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
5. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
6. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
7. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
8. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
9. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
10. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมที่สงบระงับ (กิเสสและความทุกข์) คือ
นิพพาน สติ ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ตรัสเรียกว่า สติ1
ภิกษุเป็นผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมแล้วด้วยสตินี้ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม 7 ประการได้แล้ว คือ
1. ทำลายสักกายทิฏฐิได้แล้ว
2. ทำลายวิจิกิจฉาได้แล้ว
3. ทำลายสีลัพพตปรามาสได้แล้ว
4. ทำลายราคะได้แล้ว
5. ทำลายโทสะได้แล้ว
6. ทำลายโมหะได้แล้ว
7. ทำลายมานะได้แล้ว
คือ ภิกษุนั้นทำลายบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพ
ใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ
ต่อไปได้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 4/54-55

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :71 }