เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
อำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความกระหายด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่
ความยินดีด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความติดใจด้วย
อำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลส
เครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ใน
กามทั้งหลาย
(สมจริงดังที่พระเจ้าอัฑฒมาสกเปล่งอุทานว่า)
เจ้ากามเอ๋ย เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว
เจ้าเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก
เจ้าจักไม่เกิดมาเป็นอย่างนี้ได้อีกละเจ้ากามเอ๋ย1
เหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม
ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความติดใจ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ2
คำว่า ไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย อธิบายว่า ไม่พึงปรารถนายิ่ง ๆ
ขึ้นไป คือ ไม่พึงพัวพันในวัตถุกาม เป็นผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่น
คือ เป็นผู้คลายความยินดีแล้ว ปราศจากความยินดีแล้ว สละความยินดีแล้ว
คลายความยินดีแล้ว ปล่อยความยินดีแล้ว ละความยินดีแล้ว เป็นผู้สลัดทิ้งความ
ยินดีแล้ว คือ เป็นผู้คลายราคะแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คลาย
ราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก
แล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ไม่พึง
ปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย
คำว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว อธิบายว่า

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ชา. 27/39/188, ขุ.ม. (แปล) 29/1/2
2 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :67 }