เมนู

ระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป
ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านั้น ปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า “ธรรมเหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้
อาสวสมุทัย ฯลฯ นี้อาสวนิโรธ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” ปิดกั้นได้
คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า “เหล่านี้คือธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ
เหล่านี้คือธรรมที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เหล่านี้คือธรรมที่ควรละ ฯลฯ เหล่านี้คือ
ธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ เหล่านี้คือธรรมที่ควรทำให้แจ้ง” ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป
จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการ
สลัดออกแห่งผัสสายตนะ 6 ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป
ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการ
สลัดออกจากอุปาทานขันธ์ 5 ฯลฯ กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นธรรม
คือ เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกมหาภูตรูป 4 ฯลฯ กระแส
เหลานั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่ง
นั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป
ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป รวมความว่า ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ)
กระแสเหล่าใดในโลก
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้
เรากล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย
ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :57 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
[5] (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ
นามและรูปนี้ดับที่ไหน ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเนื้อความนั้น
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (5)

ว่าด้วยปัญญา
คำว่า ปัญญา ในคำว่า ปัญญา สติ อธิบายว่า ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด
ความวิจัย ความเลือกเฟ้น ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความ
เข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาดุจแผ่นดิน ปัญญา
เครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญา
ดุจปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาดุจศัสตรา ปัญญาดุจปราสาท
ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาดุจดวงประทีป ปัญญาดุจดวงแก้ว
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
คำว่า สติ ได้แก่ สติ คือ ความระลึกถึง ฯลฯ สัมมาสติ รวมความว่า
ปัญญา สติ ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... นามและรูป อธิบายว่า
คำว่า นาม ได้แก่ ขันธ์ที่มิใช่รูป 4 อย่าง
คำว่า รูป ได้แก่ มหาภูตรูป1 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้ง2 4

เชิงอรรถ :
1 มหาภูตรูป คือรูปใหญ่ รูปต้นเดิม คือธาตุ 4 ได้แก่ (1) ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่
สภาพอันเป็นหลักที่ตั้งที่อาศัยแห่งสหชาตรูป เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน (2) อาโปธาตุ
สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม ซ่านไป ขยายขนาด ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว
หรือธาตุน้ำ (3) เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ (4) วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้สั่นไหว
เคลื่อนที่ ค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม (ที.สี. (แปล) 9/487-499/216-220)
2 รูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 หรือทับศัพท์บาลีว่า อุปาทายรูป มี 24 คือ
ก. ปสาทรูป 5 (รูปที่เป็นประธานสำหรับรับอารมณ์) (1) ตา (2) หู (3) จมูก (4) ลิ้น (5) กาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :58 }