เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส

กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า
“เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ฯลฯ
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ฯลฯ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี” ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป
ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป

กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า
“เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ฯลฯ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ฯลฯ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ฯลฯ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ” ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป
ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :56 }


ระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป
ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านั้น ปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า “ธรรมเหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้
อาสวสมุทัย ฯลฯ นี้อาสวนิโรธ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” ปิดกั้นได้
คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า “เหล่านี้คือธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ
เหล่านี้คือธรรมที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เหล่านี้คือธรรมที่ควรละ ฯลฯ เหล่านี้คือ
ธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ เหล่านี้คือธรรมที่ควรทำให้แจ้ง” ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป
จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการ
สลัดออกแห่งผัสสายตนะ 6 ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป
ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการ
สลัดออกจากอุปาทานขันธ์ 5 ฯลฯ กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นธรรม
คือ เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกมหาภูตรูป 4 ฯลฯ กระแส
เหลานั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่ง
นั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป
ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป รวมความว่า ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ)
กระแสเหล่าใดในโลก
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้
เรากล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย
ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :57 }