เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า กระแสทั้งหลาย ในคำว่า กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง
ได้แก่ กระแสตัณหา กระแสทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา
คำว่า ในที่ทั้งปวง ได้แก่ ในอายตนะทั้งปวง
คำว่า ย่อมไหลไป ได้แก่ ย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไป อธิบายว่า
กระแสจากตา ย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปในรูป กระแสจากหู
ย่อมไหลไป ฯลฯ ในเสียง กระแสจากจมูกย่อมไหลไป ฯลฯ ในกลิ่น กระแส
จากลิ้นย่อมไหลไป ฯลฯ ในรส กระแสจากกายย่อมไหลไป ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ
กระแสจากใจ ย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปในธรรมารมณ์ คือ
รูปตัณหาย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปทางตา สัททตัณหาย่อมไหลไป คือ
ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปทางหู คันธตัณหาย่อมไหลไป ฯลฯ ทางจมูก รส
ตัณหาย่อมไหลไป ฯลฯ ทางลิ้น โผฏฐัพพตัณหาย่อมไหลไป ฯลฯ ทางกาย
ธัมมตัณหาย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปทางใจ รวมความว่า
กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท
เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่ง
พยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า อชิตะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม
การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ
รวมความว่า ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้
คำว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า อะไรเป็นเครื่องขวาง
เครื่องกั้น คือ เครื่องป้องกัน รักษา คุ้มครองกระแสทั้งหลาย รวมความว่า
อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย
อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :53 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศธรรมเครื่องขวาง เครื่องกั้น เครื่องป้องกัน รักษา
คุ้มครองกระแสทั้งหลาย รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเครื่อง
ป้องกันกระแสทั้งหลาย
คำว่า อะไรปิดกั้นกระแสทั้งหลายได้ อธิบายว่า กระแสทั้งหลาย ถูกอะไร
ปิดกั้น คือ ถูกตัดขาด จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป รวมความว่า
อะไรปิดกั้นกระแสทั้งหลายได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้)
กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง
อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย
อะไรปิดกั้นกระแสทั้งหลายได้
[4] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ)
กระแสเหล่าใดในโลก
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้
เรากล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย
ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้ (4)
คำว่า กระแสเหล่าใดในโลก อธิบายว่า กระแสเหล่านั้นใดที่เราตอบ ชี้แจง
บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศไว้ คือ
กระแสตัณหา กระแสทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า กระแสเหล่าใดในโลก
คำว่า อชิตะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า สติ ในคำว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้ อธิบายว่า สติ
คือ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะหน้า สติ คือ ความระลึกได้ ความจำได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :54 }