เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
เพราะประกอบด้วยปาณาติบาตอันไม่สะอาด...
... อทินนาทานอันไม่สะอาด...
... กาเมสุมิจฉาจารอันไม่สะอาด...
... มุสาวาทอันไม่สะอาด...
... ปิสุณาวาจาอันไม่สะอาด...
... ผรุสวาจาอันไม่สะอาด...
... สัมผัปปลาปะอันไม่สะอาด...
... อภิชฌาอันไม่สะอาด...
... พยาบาทอันไม่สะอาด...
เพราะประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด
เพราะประกอบด้วยเจตนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด
เพราะประกอบด้วยความปรารถนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด
เพราะประกอบด้วยปณิธาน(ความตั้งใจ) อันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่า
ไม่สะอาด คือ เลว ทราม ต่ำทราม ต่ำ น่ารังเกียจ หยาบ เล็กน้อย รวมความว่า
มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ไม่สะอาด
คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด อธิบายว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่งการบรรพชา ฯลฯ
คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ความประพฤติ 8 อย่าง1 ฯลฯ
คำว่า เหมือนนอแรด อธิบายว่า ธรรมดาแรด มีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง
ฉันใด ฯลฯ รวมความว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 121/399-401

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :501 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
ทุกวันนี้มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ
จึงคบและเสพด้วย มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก
มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตนไม่สะอาด
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
จตุตถวรรคจบ
ขัคควิสาณสุตตนิทเทสที่ 19 จบ

การอธิบายคำสอนแก่พราหมณ์ ผู้ถึงฝั่ง 16 คนเหล่านี้
คือ (1) อชิตะ (2) ติสสเมตเตยยะ
(3) ปุณณกะ (4) เมตตคู (5) โธตกะ
(6) อุปสีวะ (7) นันทะ (8) เหมกะ
(9) โตเทยยะ (10) กัปปะ (11) ชตุกัณณิผู้เป็นบัณฑิต
(12) ภัทราวุธ (13) อุทัย
(14) โปสาละผู้เป็นพราหมณ์ (15) โมฆราชผู้มีปัญญา
(16) ปิงคิยะผู้เป็นมหาฤๅษี มีประมาณเท่านี้แล
แม้การอธิบายขัคควิสาณสุตรก็มีประมาณเท่านี้
นิทเทสที่ควรรู้ทั้ง 2 ภาค ท่านกำหนดทำไว้บริบูรณ์ดีแล้ว
จูฬนิทเทส จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า:502 }