เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า มีประโยชน์เป็นเหตุจึงคบและเสพด้วย อธิบายว่า มิตรทั้งหลายมี
ประโยชน์ตนเป็นเหตุ มีประโยชน์ผู้อื่นเป็นเหตุ มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเป็นเหตุ
มีประโยชน์ในภพปัจจุบันเป็นเหตุ มีประโยชน์ในภพหน้าเป็นเหตุ มีประโยชน์อย่าง
ยิ่งเป็นเหตุ จึงคบ คือ คบหา เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะ รวมความว่า
มีประโยชน์เป็นเหตุจึงคบและเสพด้วย
คำว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย...มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก อธิบายว่า
มิตรมี 2 จำพวก คือ
1. อาคาริกมิตร(มิตรครองเรือน)
2. อนาคาริกมิตร (มิตรไม่ครองเรือน)
ฯลฯ นี้ชื่อว่าอาคาริกมิตร ฯลฯ นี้ชื่อว่าอนาคาริกมิตร1
คำว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย... มิตรที่ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก อธิบายว่า
มิตร 2 จำพวก เหล่านี้ ไม่มีเหตุ ไม่มุ่งประโยชน์ คือ หาเหตุมิได้ ไม่มีปัจจัย
หาได้ยาก ได้ยาก แสนยาก รวมความว่า ทุกวันนี้มิตรทั้งหลาย... มิตรที่ไม่มุ่ง
ประโยชน์หาได้ยาก
คำว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ในคำว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง
ประโยชน์ตนไม่สะอาด อธิบายว่า เหล่ามนุษย์คบ คบหา เสพ เสพเป็นนิจ
ซ่องเสพ เสพเฉพาะ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ เข้าไปนั่งใกล้ ไต่ถาม
ถามปัญหา เพื่อประโยชน์ของตน เพราะเหตุแห่งตน เพราะปัจจัยแห่งตน เพราะ
การณ์แห่งตน รวมความว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน

ว่าด้วยกรรมไม่สะอาด
คำว่า มนุษย์ทั้งหลาย... ไม่สะอาด อธิบายว่า
เพราะประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด
เพราะประกอบด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด
เพราะประกอบด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 123/409

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :500 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
เพราะประกอบด้วยปาณาติบาตอันไม่สะอาด...
... อทินนาทานอันไม่สะอาด...
... กาเมสุมิจฉาจารอันไม่สะอาด...
... มุสาวาทอันไม่สะอาด...
... ปิสุณาวาจาอันไม่สะอาด...
... ผรุสวาจาอันไม่สะอาด...
... สัมผัปปลาปะอันไม่สะอาด...
... อภิชฌาอันไม่สะอาด...
... พยาบาทอันไม่สะอาด...
เพราะประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด
เพราะประกอบด้วยเจตนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด
เพราะประกอบด้วยความปรารถนาอันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่าไม่สะอาด
เพราะประกอบด้วยปณิธาน(ความตั้งใจ) อันไม่สะอาด มนุษย์ทั้งหลาย จึงชื่อว่า
ไม่สะอาด คือ เลว ทราม ต่ำทราม ต่ำ น่ารังเกียจ หยาบ เล็กน้อย รวมความว่า
มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ไม่สะอาด
คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด อธิบายว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่งการบรรพชา ฯลฯ
คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ความประพฤติ 8 อย่าง1 ฯลฯ
คำว่า เหมือนนอแรด อธิบายว่า ธรรมดาแรด มีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง
ฉันใด ฯลฯ รวมความว่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 121/399-401

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :501 }