เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พญาสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง
ข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย เที่ยวไป ฉันใด
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็มีปัญญาเป็นกำลัง
ครอบงำบุคคลทั้งหลายด้วยปัญญา
ใช้สอยเสนาสนะอันสงัด
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น
[159] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา
กรุณา มุทิตาและอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล
สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (8)
คำว่า เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล
อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ทิศ 2...
ทิศ 3... ทิศ 4...ก็เช่นเดียวกัน ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตอัน
ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ รวมความว่า
เสพอาศัยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล
คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้เกลียดชัง อธิบายว่า เพราะเป็นผู้เจริญพรหม-
วิหารมีเมตตาเป็นต้น สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกก็ไม่เกลียดชัง สัตว์ที่อยู่ทางทิศ
ตะวันตกก็ไม่เกลียดชัง ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศเหนือ ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศใต้ ฯลฯ
สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้(อาคเณย์) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียง
เหนือ(พายัพ) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่
ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้(หรดี) ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทางทิศเบื้องล่าง ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทาง
ทิศเบื้องบน ฯลฯ สัตว์ที่อยู่ทั้งสิบทิศก็ไม่เกลียดชัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :497 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้เกลียดชัง อธิบายว่า สัตว์โลกทั้งปวงไม่เกลียดชัง
คือ ไม่โกรธ ไม่อาฆาต ไม่กระทบกระทั่ง รวมความว่า สัตว์โลกทั้งปวง มิได้
เกลียดชัง จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้นจึงกล่าวว่า
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เสพอาศัยเมตตา
กรุณา มุทิตาและอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตามกาล
สัตว์โลกทั้งปวงมิได้เกลียดชัง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[160] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละราคะ โทสะ และโมหะ
ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (9)
คำว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ อธิบายว่า
คำว่า ราคะ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ1
คำว่า โทสะ ได้แก่ ความอาฆาตแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความไม่แช่มชื่นจิต
คำว่า โมหะ คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ข่ายคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ
คำว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ
ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ
รวมความว่า ละราคะ โทสะ และโมหะ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :498 }