เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปรารถนาความสิ้นตัณหา
ไม่ประมาท ไม่โง่เขลา คงแก่เรียน มีสติ
ผู้มีสังขาตธรรม ผู้แน่นอน มีความมุ่งมั่น
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[157] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง
เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่ายเหมือนลม ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (6)
คำว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์ อธิบายว่า สีหะ พญามฤคราช
ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่หวาดเสียว ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่หวาดกลัว ไม่ขลาด
ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีในเพราะเสียง ฉันใด
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่หวาดเสียว ไม่สะทก-
สะท้าน ไม่ตกใจ ไม่หวาดกลัว ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละภัย
และความกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้าในเพราะเสียงอยู่ ฉันนั้น รวม
ความว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนราชสีห์
คำว่า ลม ในคำว่า ไม่ติดข่ายเหมือนลม อธิบายว่า ลมตะวันออก ลม
ตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่น ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว ลมร้อน ลมพัดเบา
ลมพัดแรง ลมบ้าหมู ลมจากปีกนก ลมจากปีกครุฑ ลมจากใบตาล ลมจากพัด
ข่ายทำด้วยด้ายเรียกว่า ข่าย ลมไม่ข้องขัด คือ ไม่ยึด ไม่ติด ไม่พัวพันอยู่ที่ข่าย
ฉันใด
ข่ายมี 2 ชนิด คือ
1. ข่ายตัณหา
2. ข่ายทิฏฐิ ฯลฯ
นี้ชื่อว่าข่ายตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าข่ายทิฏฐิ1

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 11/80-81

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :494 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้
ละข่ายตัณหา สลัดทิ้งข่ายทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่ข้องขัดอยู่
ในรูป เสียง ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้
และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ ไม่ยึด ไม่ผูก ไม่พัวพัน เป็นผู้ออกแล้ว สลัดออก
หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ติด
ข่ายเหมือนลม
คำว่า ไม่เปียกน้ำ เหมือนบัว อธิบายว่า
ดอกบัว เรียกว่า บัว
น้ำท่า เรียกว่า น้ำ
ดอกบัวไม่เปียก คือ ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติดด้วยน้ำ น้ำไม่เปียก ไม่เปื้อน
ไม่เข้าไปติดดอกบัว ฉันใด ความยึดติดมี 2 อย่าง คือ (1) ความยึดติดด้วย
อำนาจตัณหา (2) ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วย
อำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ1
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความยึดติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความยึด
ติดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความยึดติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง
ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ติด ไม่ติดพัน
ไม่เข้าไปติดในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว
ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่
ฉันนั้น รวมความว่า ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง
เหมือนราชสีห์ ไม่ติดข่ายเหมือนลม ไม่เปียกน้ำเหมือนบัว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 11/80-81

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :495 }