เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยความตระหนี่ 5 อย่าง
คำว่า โลกไม่สดใสเพราะความตระหนี่และความประมาท อธิบายว่า
มัจฉริยะ 5 อย่าง เรียกว่า ความตระหนี่ คือ

1. อาวาสมัจฉริยะ (ความตระหนี่ที่อยู่)
2. กุลมัจฉริยะ (ความตระหนี่ตระกูล)
3. ลาภมัจฉริยะ (ความตระหนี่ลาภ)
4. วัณณมัจฉริยะ (ความตระหนี่วรรณะ)
5. ธัมมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว
ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ ตรัสเรียกว่า
ความตระหนี่
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่
อายตนะก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ ก็เรียกว่า ความตระหนี่
ขอกล่าวถึงความประมาท ความปล่อยจิตไปหรือการเพิ่มพูนความปล่อยจิต
ไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ 5 อย่าง การทำโดย
ไม่เคารพ การทำที่ไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน
ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่
ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาทในการเจริญ
กุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่
ประมาทมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ ตรัสเรียกว่า ความประมาท
คำว่า โลกไม่สดใสเพราะความตระหนี่และความประมาท อธิบายว่า โลก
ไม่สดใส คือ ไม่ส่องสว่าง ไม่แผดแสง ไม่รุ่งโรจน์ ไม่แจ่มชัด ไม่ปรากฏชัด
เพราะความตระหนี่และความประมาทนี้ รวมความว่า โลกไม่สดใสเพราะความ
ตระหนี่และความประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :49 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยตัณหา
คำว่า เราเรียกความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า ความอยาก ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อย
ตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น
ความหื่นกระหาย ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน
ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม
ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป
ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็น
เพื่อน ความคนึงหา ตัณหาที่นำพาไปสู่ภพ ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ
ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง
ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส
ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร
ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบบ่อย ๆ ธรรมชาติที่
กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ
ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดี ๆ ความกำหนัด
ในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา
ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ
ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ1 รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ2 โยคะ3 คันถะ4 อุปาทาน5 อาวรณ์6 นิวรณ์
เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย7 ปริยุฏฐาน (กิเลสที่กลุ้มรุมจิต)

เชิงอรรถ :
1 ตัณหาในนิโรธ คือตัณหาที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.ม.อ. 3/39)
2 โอฆะ คือสภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา
(ที.ปา. 11/312/205)
3 โยคะ คือสภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (ที.ปา. 11/312/205)
4 คันถะ คือกิเลสเครื่องร้อยรัดมี 4 อย่าง ได้แก่ (1) กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา (2) กิเลส
เครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท (3) กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส (4) กิเลสเครื่องร้อยรัด
กายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง (ขุ.ม.(แปล) 29/92/286)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :50 }