เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิต มุ่งมั่นว่า “เนื้อและเลือดใน
ร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามทีเถิด ผลใดพึง
บรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย
ความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า) ไม่บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุดความเพียร” แม้อย่าง
นี้ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า
“เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร
ทั้งจักไม่เอนกายนอน1”
แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุด
พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เลย”
แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุด
พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ลุกจากที่นั่งนี้” แม้อย่างนี้
ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “ตราบใดที่จิตของเรายังไม่
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ลงจากที่จงกรมนี้
ไม่ออกจากวิหาร ไม่ออกจากเรือนหลังคาด้านเดียว ไม่ออกจากปราสาท ไม่ออก
จากเรือนโล้น ไม่ออกจากถ้ำ ไม่ออกจากที่หลีกเร้น ไม่ออกจากกุฎี ไม่ออกจาก
เรือนยอด ไม่ออกจากป้อม ไม่ออกจากโรงกลม ไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น
ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง ไม่ออกจากมณฑป ไม่ออกจากโคนไม้นี้” แม้อย่างนี้
ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ
สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรมเช้าวันนี้เอง” แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน
ไม่ประพฤติเกียจคร้าน

เชิงอรรถ :
1 ขุ.เถร. (แปล) 26/223/374

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :488 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เราจักนำมา นำมาด้วยดี
บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรมในเที่ยงนี้... เย็นนี้... ก่อนภัต... หลังภัต...
ปฐมยาม... มัชฌิมยาม... ปัจฉิมยาม... ข้างแรม... ข้างขึ้น... ฤดูฝน... ฤดูหนาว...
ฤดูร้อน... ปฐมวัย... มัชฌิมวัย... ปัจฉิมวัย นี้” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน
ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
คำว่า มีความพากเพียรมั่นคง ในคำว่า มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึง
เรี่ยวแรงและกำลังแล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น สมาทานมั่นคง
สมาทานแน่วแน่ในกุศลธรรม คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต การจำแนกทาน
การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ ความเกื้อกูลมารดา ความเกื้อกูลบิดา ความ
เกื้อกูลสมณะ ความเกื้อกูลพราหมณ์ ความเป็นผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
(และ) ในธรรมอันเป็นกุศลยิ่งอื่น ๆ รวมความว่า มีความพากเพียรมั่นคง
คำว่า เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมด้วยเรี่ยวแรงกำลัง ความเพียร ความบากบั่นและปัญญา รวมความว่า
มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน
นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียร
เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง
มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[155] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน
ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ
พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :489 }