เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละนิวรณ์ 5 อย่าง
ขจัดอุปกิเลสแห่งจิตทั้งปวงได้แล้ว
ไม่อิงอาศัย ตัดความรักและความชังได้แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[153] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละสุขและทุกข์
โสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้แล้ว
ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (2)
คำว่า ละสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้แล้ว อธิบายว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละ
ทุกข์และดับโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาและสติอันบริสุทธิ์อยู่ รวมความว่า
ละสุข และทุกข์ โสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้แล้ว
คำว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว อธิบายว่า
คำว่า อุเบกขา ได้แก่ อุเบกขา ความเพิกเฉย ความเพิกเฉยอย่างยิ่ง ความที่
จิตสงบ ความที่จิตสงัด ความที่จิตเป็นกลางในจตุตถฌาน
คำว่า สมถะ ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงมั่น ความไม่คลอนแคลน
ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อุเบกขาและสมถะในจตุตถฌาน สะอาด คือ บริสุทธิ์
ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน
ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
คำว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว อธิบายว่า คือ ได้รับ ประสบ
ได้เฉพาะแล้วซึ่งอุเบกขาในจตุตถฌานและสมถะ รวมความว่า ได้อุเบกขาและสมถะ
อันสะอาดแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :486 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละสุข และทุกข์
โสมนัส และโทมนัสก่อน ๆ ได้แล้ว
ได้อุเบกขาและสมถะอันสะอาดแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[154] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียร
เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง
มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (3)
คำว่า ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง อธิบายว่า อมตนิพพาน
ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่าประโยชน์อย่างยิ่ง
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตั้งความเพียรเพื่อบรรลุ คือ เพื่อได้ ได้เฉพาะ ถึง
ถูกต้อง ทำให้แจ้งประโยชน์อย่างยิ่ง อยู่ ได้แก่ ลงแรง มีความบากบั่น มั่นคง
เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
รวมความว่า ตั้งความเพียร เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง

ว่าด้วยการตั้งความเพียรเพื่อบรรลุธรรม
คำว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน อธิบายว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น ปลูกฉันทะให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันมิให้เกิดบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ปลูกฉันทะให้เกิด พยายาม
ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ปลูกฉันทะ
ให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ปลูกฉันทะให้เกิด พยายาม ตั้งความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่ฟั่นเฟือน เจริญยิ่ง ไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว รวมความว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :487 }