เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า ไฟกิเลสมิได้เผา อธิบายว่า ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
แผดเผาไม่ได้ รวมความว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว
เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ภิกษุเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คุ้มครองอินทรีย์
รักษาใจได้แล้ว ไม่ชุ่มด้วย กิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[150] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว
ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (10)
คำว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า ผม หนวด ฯลฯ ผ้าชายยาว1
เรียกว่า เครื่องหมายคฤหัสถ์
คำว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า ปลง คือ ปลงลง ทิ้ง ระงับ
เครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว รวมความว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว
คำว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ อธิบายว่า ต้นปาริฉัตร คือ ต้น
ทองหลางนั้น มีใบหนาแน่น มีร่มเงาชิด ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ทรง
บาตรและจีวรครบ ฉันนั้น รวมความว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ
คำว่า ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตัด
ความกังวลในการครองเรือน ความกังวลด้วยบุตรภรรยา ความกังวลด้วยญาติ
ความกังวลด้วยมิตรและอำมาตย์ ความกังวลด้วยการสะสม ปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกบวชจากเรือนเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความกังวล
ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว
รวมความว่า ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 145/466

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :479 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว
ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[151] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ทำความยินดีในรส
ไม่โลเล ผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงคนอื่น
เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก
มีใจไม่ผูกพันในตระกูลต่าง ๆ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (11)

ว่าด้วยรส
คำว่า ไม่ทำความยินดีในรส ไม่โลเล อธิบายว่า
คำว่า รส ได้แก่ รสจากราก รสจากลำต้น รสจากเปลือก รสจากใบ รสจาก
ดอก รสจากผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด
รสอร่อย รสไม่อร่อย ของเย็น ของร้อน
สมณพราหมณ์บางพวกยินดีในรส สมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวแสวงหารส
เลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวง
หารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารสไม่หวาน ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารส
หวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม ได้รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดแล้ว
ก็แสวงหารสไม่เผ็ด ได้รสไม่เผ็ดแล้วก็แสวงหารสเผ็ด ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหารส
ไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รส
ไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสไม่ฝาด ได้รสไม่ฝาดแล้วก็
แสวงหารสฝาด ได้รสเฝื่อนแล้วก็แสวงหารสไม่เฝื่อน ได้รสไม่เฝื่อนแล้วก็แสวงหารส
เฝื่อน ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหารสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย
ได้ของเย็นแล้วก็แสวงหาของร้อน ได้ของร้อนแล้วก็แสวงหาของเย็น สมณพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :480 }