เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้ง
มั่นกายคตาสติ และมีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติตามความ
เป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแก่เธอ
ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วย
กิเลสในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
แม้ถ้ามารเข้ามาหาภิกษุนั้น ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึง
ได้อารมณ์ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ
มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์
กูฏาคาร กูฏาคารศาลา หรือคารศาลา พอกดินหนา มีเครื่องฉาบทาเปียก ถ้า
แม้คนเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ไม่พึง
ได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศ
ตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศ
เบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศใหน ๆ
ก็ตาม ไฟก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ แม้ฉันใด
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้น
ทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯลฯ
ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ภิกษุผู้มี
ปกติอยู่อย่างนี้ ครอบงำรูปได้ รูปครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำเสียงได้ เสียง
ครอบงำภิกษุไม่ได้ ฯลฯ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ได้ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุไม่ได้
ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ครอบงำ คือ ครอบงำรูปได้ ครอบงำเสียงได้ ครอบงำ
กลิ่นได้ ครอบงำรสได้ ครอบงำโผฏฐัพพะได้ ครอบงำธรรมารมณ์ได้ (ไม่ถูกกิเลส
เหล่านั้นครอบงำ) เธอครอบงำธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง
ทำให้เกิดในภพใหม่อีก มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ
ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลส เป็น
อย่างนี้แล รวมความว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :478 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า ไฟกิเลสมิได้เผา อธิบายว่า ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
แผดเผาไม่ได้ รวมความว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว
เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ภิกษุเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คุ้มครองอินทรีย์
รักษาใจได้แล้ว ไม่ชุ่มด้วย กิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[150] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว
ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (10)
คำว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า ผม หนวด ฯลฯ ผ้าชายยาว1
เรียกว่า เครื่องหมายคฤหัสถ์
คำว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว อธิบายว่า ปลง คือ ปลงลง ทิ้ง ระงับ
เครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว รวมความว่า ปลงเครื่องหมายคฤหัสถ์แล้ว
คำว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ อธิบายว่า ต้นปาริฉัตร คือ ต้น
ทองหลางนั้น มีใบหนาแน่น มีร่มเงาชิด ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ทรง
บาตรและจีวรครบ ฉันนั้น รวมความว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบทึบ
คำว่า ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตัด
ความกังวลในการครองเรือน ความกังวลด้วยบุตรภรรยา ความกังวลด้วยญาติ
ความกังวลด้วยมิตรและอำมาตย์ ความกังวลด้วยการสะสม ปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกบวชจากเรือนเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความกังวล
ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว
รวมความว่า ครองผ้ากาสาวะ ออกบวช จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 145/466

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :479 }