เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำเอาได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วก็ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำเอาได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ รวมความว่า
คุ้มครองอินทรีย์
คำว่า รักษาใจได้แล้ว ได้แก่ คุ้มครองใจ ชื่อว่ารักษาจิตได้แล้ว รวมความว่า
คุ้มครองอินทรีย์ รักษาใจได้แล้ว
คำว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ในคำว่า ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ไฟกิเลสมิได้เผา อธิบายว่า
สมจริงดังที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวไว้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมจักแสดง
อวัสสุตปริยายสูตร1 และอนวัสสุตปริยายสูตรแก่ท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจง
ฟังเทศนานั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระมหา-
โมคคัลลานะว่า “อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ” ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น
ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่
น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิต
อยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับโดยไม่
เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้
เรียกว่า เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ ในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 สํ.สฬา. (แปล) 18/243/247-251

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :476 }