เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
จากบ้านหนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีก
นครหนึ่ง จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบทหนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง เพื่อดูรูป
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ระแวกบ้าน เดินทางไปตามถนนก็สำรวม ไม่เดิน
มองช้าง ไม่มองม้า ไม่มองรถ ไม่มองพลเดินเท้า ไม่มองเด็กชาย ไม่มองเด็กหญิง
ไม่มองสตรี ไม่มองบุรุษ ไม่มองร้านตลาด ไม่มองหน้ามุขเรือน ไม่มองสูง
ไม่มองต่ำ ไม่มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อ
ว่าเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้งดเว้นจากการขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึก
แก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้
ด้วยศรัทธาแล้ว ก็ไม่ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้อยู่ คือ
การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี ฯลฯ การจัดกระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้
ไม่สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง รวมความว่า เป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ

ว่าด้วยผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คำว่า และไม่เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข มีอธิบายว่า
ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความ
เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข จึงเป็นผู้ขวนขวายในการเที่ยวไปนาน หรือการเที่ยวไปไม่มี
จุดหมายแน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีก
อุทยานหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีกนครหนึ่ง จากรัฐ
หนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบทหนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้าอยู่
ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :474 }