เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
เหมือนเขียงหั่นเนื้อ เปรียบเหมือนหอกหลาว เปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก ใน
กามนี้มีความคับแค้นมาก มีโทษอย่างยิ่ง1 รวมความว่า ในกามนี้มีความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก
คำว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว คำว่า ก้อนเหล็ก เบ็ด
เหยื่อ ความเกี่ยวข้อง ความผูกพัน ความพัวพัน นี้ เป็นชื่อของกามคุณ 5
คำว่า ว่า เป็นคำสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความ
สัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ว่า นี้เป็นคำเชื่อม
บทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ผู้มีปัญญา ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลสได้
คำว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว อธิบายว่า ผู้มีปัญญารู้ คือ
ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า เป็นดุจขอเหล็ก
เป็นดุจเบ็ด เป็นดุจเหยื่อ เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องพัวพัน รวม
ความว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน
นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย
ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[148] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ทำลายสังโยชน์แล้ว
เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย
และเหมือนไฟไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (8)

เชิงอรรถ :
1 วิ.มหา. (แปล) 2/417/526, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/76/134, ขุ.ม. (แปล) 29/3/7-8

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :470 }