เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
เครื่องแกง ชื่อว่าอปรัณณชาติ
คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง 4 จำพวก คือ
1. พวกพ้องโดยความเป็นญาติ ชื่อว่าพวกพ้อง
2. พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่าพวกพ้อง
3. พวกพ้องโดยความเป็นมิตร ชื่อว่าพวกพ้อง
4. พวกพ้องโดยศิลปะ ชื่อว่าพวกพ้อง
รวมความว่า ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง
คำว่า กาม ในคำว่า ละทิ้ง... และกาม ตามส่วนแล้ว ได้แก่ กาม 2 อย่าง
แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม (2) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม1
คำว่า ละทิ้ง... และกาม ได้แก่ กำหนดรู้วัตถุกาม ละ กำจัด บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีกิเลสกามอีก
คำว่า ละทิ้ง... และกาม ตามส่วนแล้ว อธิบายว่า กิเลสเหล่าใด พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค ท่านก็ไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับ
มาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด ท่านละได้แล้ว ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ
กิเลสเหล่าใด ท่านละได้แล้ว ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ กิเลสเหล่าใด ท่านละได้
แล้วด้วยอรหัตตมรรค ท่านก็ไม่มา คือ ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก
รวมความว่า ละทิ้ง... และกาม ตามส่วนแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ละทิ้ง บุตร ทาระ บิดา มารดา
ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกาม ตามส่วนแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 8/66-67

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :468 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
[147] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย
ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (7)
คำว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย อธิบายว่า คำว่า เครื่องข้อง
เบ็ด เหยื่อ ความเกี่ยวข้อง ความพัวพัน นี้ เป็นชื่อของกามคุณ 5
คำว่า มีความสุขน้อย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย กามคุณมี 5 อย่างเหล่านี้ 5 อย่างอะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัส อันใดแล อาศัยกามคุณ 5 นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้
เรียกว่า กามคุณอันเป็นสุข1 สุขนี้น้อย คือ เล็กน้อย หน่อยเดียว เลวทราม ลามก
สกปรก รวมความว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย
คำว่า ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก อธิบายว่า กามทั้งหลาย พระผู้-
มีพระภาคตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มี
โทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก
เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เปรียบเหมือนหลุ่มถ่านเพลิง
เปรียบเหมือนความฝัน เปรียบเหมือนของที่ยืมมา เปรียบเหมือนผลไม้คาต้นเปรียบ

เชิงอรรถ :
1 ม.อุ. 14/328/299-300

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :469 }