เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า การเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก อธิบายว่า
คำว่า การเล่น ได้แก่ การเล่น 2 อย่าง คือ (1) การเล่นทางกาย
(2) การเล่นทางวาจา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย ฯลฯ นี้ชื่อว่าการเล่น
ทางวาจา1
คำว่า ความยินดี อธิบายว่า
คำว่า ความยินดี นี้ เป็นชื่อของความไม่เบื่อหน่าย
คำว่า กามสุข อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
กามคุณมี 5 อย่างเหล่านี้ 5 อย่างอะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัสอันใดแล
อาศัยกามคุณ 5 นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้ เรียกว่า กามอันเป็นสุข2
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในมนุษยโลก รวมความว่า การเล่น ความยินดี และ
กามสุขในโลก
คำว่า ไม่ชื่นชม... ไม่ใส่ใจ อธิบายว่า ไม่ชื่นชม คือ ไม่ใส่ใจ ละ บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก รวม
ความว่า ไม่ชื่นชม... ไม่ใส่ใจ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 127/420
2 ม.อุ. 14/328/299 - 300

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :465 }