เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 อริยมรรค 4
สามัญญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ (ภาษา)
เมื่อรู้เหตุ เหตุย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้ผล ผลย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติย่อม
แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติทั้ง 3 เหล่านี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
พระปัจเจก สัมพุทธเจ้าประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม
เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ฉะนั้น พระ
ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม
ญาณอะไรเล่าจักแจ่มแจ้งแก่เขาได้ รวมความว่า มิตร ... ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ
คำว่า รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย อธิบายว่า รู้จัก คือ รู้ยิ่ง
ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ซึ่งประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า
ประโยชน์อย่างยิ่ง พึงกำจัด ได้แก่ พึงขจัดเฉพาะ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีซึ่งความสงสัยอีก รวมความว่า รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความ
สงสัย ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งใหญ่
มีปฏิภาณ รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย
ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[145] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ชื่นชมการเล่น
ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่ใส่ใจ
งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :464 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า การเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก อธิบายว่า
คำว่า การเล่น ได้แก่ การเล่น 2 อย่าง คือ (1) การเล่นทางกาย
(2) การเล่นทางวาจา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย ฯลฯ นี้ชื่อว่าการเล่น
ทางวาจา1
คำว่า ความยินดี อธิบายว่า
คำว่า ความยินดี นี้ เป็นชื่อของความไม่เบื่อหน่าย
คำว่า กามสุข อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
กามคุณมี 5 อย่างเหล่านี้ 5 อย่างอะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัสอันใดแล
อาศัยกามคุณ 5 นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้ เรียกว่า กามอันเป็นสุข2
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในมนุษยโลก รวมความว่า การเล่น ความยินดี และ
กามสุขในโลก
คำว่า ไม่ชื่นชม... ไม่ใส่ใจ อธิบายว่า ไม่ชื่นชม คือ ไม่ใส่ใจ ละ บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก รวม
ความว่า ไม่ชื่นชม... ไม่ใส่ใจ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 127/420
2 ม.อุ. 14/328/299 - 300

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :465 }