เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
กามคุณนั้น มากในกามคุณนั้น หนักในกามคุณนั้น เอนไปในกามคุณนั้น โอนไปใน
กามคุณนั้น โน้มไปในกามคุณนั้น น้อมใจไปในกามคุณนั้น มีกามคุณนั้นเป็นใหญ่
บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายในกาม ฉันนั้น
คำว่า ประมาท อธิบายว่า ควรกล่าวเรื่องความประมาท ความปล่อยจิตไป
การเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ 5
การทำโดยไม่เคารพ การทำไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน
ความทอดทิ้งฉันทะ การทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก
ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรม
ทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทมีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ความประมาท
คำว่า ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวายและผู้ประมาทด้วยตนเอง อธิบายว่า ไม่พึง
คบคนผู้ขวนขวายและไม่พึงคบคนผู้ประมาทด้วยตนเอง ได้แก่ ไม่พึงคบ ไม่พึงเสพ
เป็นนิจ ไม่พึงซ่องเสพ ไม่ควรเสพรอบ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติ
เอื้อเฟื้อโดยชอบ ไม่พึงสมาทานประพฤติด้วยตนเอง รวมความว่า ไม่พึงคบคนผู้
ขวนขวายและผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุ
นั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลพึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวาย
และผู้ประมาทด้วยตนเอง
พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[144] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งใหญ่
มีปฏิภาณ รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย
ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (4)
คำว่า ผู้เป็นพหูสูต ในคำว่า พึงคบ ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม อธิบายว่า
มิตร ผู้เป็นพหูสูต (ผู้ได้ยินได้ฟังมาก) ทรงจำสิ่งที่เล่าเรียนมาแล้วได้ สั่งสมสิ่งที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :462 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
เล่าเรียนมาแล้วไว้ได้ คือ ธรรมเหล่าใด ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน
ท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ธรรมเห็นปานนั้นเป็นธรรมที่เขาเล่าเรียนมามาก ทรงจำ
ไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดชัดเจนตามทฤษฎี
คำว่า ทรงธรรม ได้แก่ ทรงธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
คำว่า พึงคบ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม อธิบายว่า พึงคบ คือ พึงคบหา
เสพ เสพเป็นนิจ พึงซ่องเสพ เสพเฉพาะมิตรผู้เป็นพหูสูต และผู้ทรงธรรม
รวมความว่า พึงคบ ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม
คำว่า มิตร... ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ อธิบายว่า มิตร ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

ว่าด้วยบุคคลผู้มีปฏิภาณ 3 จำพวก
คำว่า มีปฏิภาณ ได้แก่ บุคคลผู้มีปฏิภาณ 3 จำพวก คือ
1. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ
2. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา
3. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ(ความรู้)
ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณ
เพราะปริยัติ
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในเรื่องความหมาย ในเรื่องที่ควรรู้
ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ(ความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้) ญาณของ
เขาย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการไต่สวน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :463 }