เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่มีความมุ่งหวังในโลกทั้งปวงแล้ว อธิบายว่า ตัณหาเรียกว่า ความ
มุ่งหวัง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1
คำว่า ในโลกทั้งปวง ได้แก่ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลกทั้งปวง ในเทวโลก
ทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง
คำว่า ไม่มีความมุ่งหวังในโลกทั้งปวงแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้ไม่มีความมุ่งหวัง
คือ ไม่มีตัณหา ไม่มีความกระหายในโลกทั้งปวง รวมความว่า ไม่มีความมุ่งหวังใน
โลกทั้งปวงแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง
ไม่กระหาย ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม)
และโมหะได้แล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ในโลกทั้งปวงแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[143] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
บุคคลพึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวาย
และผู้ประมาทด้วยตนเอง
พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (3)

ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ 10
คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว อธิบายว่า ที่เรียกว่าสหายชั่ว คือ สหายผู้ประกอบ
ด้วยมิจฉาทิฏฐิ 10 คือ
1. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
2. การบูชาไม่มีผล

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :459 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
3. การบวงสรวงไม่มีผล
4. กรรมที่ทำไว้ดีและทำไว้ไม่ดีไม่มี
5. โลกนี้ไม่มี
6. โลกหน้าไม่มี
7. มารดาไม่มี
8. บิดาไม่มี
9. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี
10. สมณพราหมณ์ที่ดำเนินตนชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก
หน้าด้วยตนเองแล้วประกาศให้(ผู้อื่น)ทราบไม่มี นี้ชื่อว่าสหายชั่ว
คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว ได้แก่ พึงละ คือ พึงละเว้นสหายชั่ว รวมความว่า
พึงละเว้นสหายชั่ว
คำว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด อธิบายว่า ที่เรียกว่า
ผู้ไม่เห็นประโยชน์ คือ สหายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ 10 คือ
1. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
2. การบูชาไม่มีผล
ฯลฯ
10. ผู้ทำให้แจ้งในโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศให้(ผู้อื่น)ทราบไม่มี
นี้ชื่อว่าผู้ไม่เห็นประโยชน์
คำว่า ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด อธิบายว่า ผู้ตั้งมั่นอยู่ในกายกรรมที่ผิด
ตั้งมั่นอยู่ในวจีกรรมที่ผิด ตั้งมั่นในมโนกรรมที่ผิด ในปาณาติบาต ในอทินนาทาน ใน
กาเมสุมิจฉาจาร ในมุสาวาท ในปิสุณาวาจา ในผรุสวาจา ในสัมผัปปลาปะ ใน
อภิชฌา ในพยาบาท ในมิจฉาทิฏฐิ ในสังขาร ในกามคุณ 5 ในนิวรณ์ 5 คือ ตั้งอยู่
ด้วยดี ข้อง ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจไปในนิวรณ์ รวมความว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :460 }