เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ตัณหาคือความกระหายนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าไม่กระหาย รวมความว่า
เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่กระหาย
คำว่า ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม) และโมหะได้แล้ว
อธิบายว่า
คำว่า ความลบหลู่ ได้แก่ ความลบหลู่ คือ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่
ความแข็งกระด้าง กรรมคือความแข็งกระด้าง
คำว่า กสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม) อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ากสาวะ โทสะ ชื่อว่า
กสาวะ โมหะ ชื่อว่ากสาวะ โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากสาวะ
คำว่า โมหะ ได้แก่ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ใน
ส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความ
ไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดย
ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่
ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความ
ลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ข่ายคืออวิชชา บ่วงคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ1
ความลบหลู่ กสาวะ และโมหะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นคายเสียแล้ว ทิ้ง
กำจัดได้แล้ว ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น
ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า
ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม)และโมหะได้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1067/273

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :458 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่มีความมุ่งหวังในโลกทั้งปวงแล้ว อธิบายว่า ตัณหาเรียกว่า ความ
มุ่งหวัง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1
คำว่า ในโลกทั้งปวง ได้แก่ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลกทั้งปวง ในเทวโลก
ทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง
คำว่า ไม่มีความมุ่งหวังในโลกทั้งปวงแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้ไม่มีความมุ่งหวัง
คือ ไม่มีตัณหา ไม่มีความกระหายในโลกทั้งปวง รวมความว่า ไม่มีความมุ่งหวังใน
โลกทั้งปวงแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง
ไม่กระหาย ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม)
และโมหะได้แล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ในโลกทั้งปวงแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[143] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
บุคคลพึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่ผิด ไม่พึงคบคนผู้ขวนขวาย
และผู้ประมาทด้วยตนเอง
พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (3)

ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ 10
คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว อธิบายว่า ที่เรียกว่าสหายชั่ว คือ สหายผู้ประกอบ
ด้วยมิจฉาทิฏฐิ 10 คือ
1. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
2. การบูชาไม่มีผล

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :459 }