เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก
ครอบงำ ปรารถนาจะให้เขายกย่อง คิดว่า “คนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้”
จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือพูดว่า “ภิกษุผู้ทรงจีวรมีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมี
ศักดิ์ใหญ่ ผู้ใช้บาตร ใช้ภาชนะโลหะ ใช้ธมกรก ใช้ผ้ากรองน้ำ ใช้ลูกกุญแจ ใช้รองเท้า
ใช้ประคดเอว ใช้สายโยกบาตร มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า
“ภิกษุผู้มีอุปัชฌาย์ระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ มีอาจารย์ระดับนี้ ฯลฯ มีผู้ร่วม
อุปัชฌาย์ระดับนี้ ฯลฯ มีผู้ร่วมอาจารย์ระดับนี้ ฯลฯ มีมิตร ฯลฯ มีพรรคพวก ฯลฯ
มีคนที่คบหากัน ฯลฯ มีสหายระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า “ภิกษุผู้อยู่
ในวิหารมีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ ฯลฯ อยู่ในเรือนมีหลังคาด้านเดียว
มีรูปแบบอย่างนี้ ฯลฯ อยู่ในปราสาท ฯลฯ อยู่ในเรือนโล้น ฯลฯ อยู่ในถ้ำ ฯลฯ
อยู่ในที่หลีกเร้น ฯลฯ อยู่ในกุฎี ฯลฯ อยู่ในเรือนยอด ฯลฯ อยู่ที่ป้อม ฯลฯ อยู่ใน
โรงกลม ฯลฯ อยู่ในเรือนพัก ฯลฯ อยู่ในเรือนรับรอง ฯลฯ อยู่ในมณฑป ฯลฯ อยู่
ที่โคนไม้ มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่”
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด โกหกหลอกลวง
ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง เป็นผู้ได้รับยกย่องด้วยการวางหน้าว่า “สมณะนี้ได้วิหาร-
สมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้” ภิกษุนั้น ย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันเกี่ยวเนื่องด้วย
โลกุตตรธรรม และสุญญตนิพพาน อันลึกซึ้ง เร้นลับ ละเอียดอ่อน ปิดบัง การทำ
หน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวงเห็น
ปานนี้ นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความหลอกลวง 3 อย่างเหล่านี้ได้แล้ว คือ ตัดขาด
ได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าไม่หลอกลวง
คำว่า ไม่กระหาย อธิบายว่า ตัณหาเรียกว่า ความกระหาย ได้แก่ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :457 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ตัณหาคือความกระหายนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าไม่กระหาย รวมความว่า
เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่กระหาย
คำว่า ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม) และโมหะได้แล้ว
อธิบายว่า
คำว่า ความลบหลู่ ได้แก่ ความลบหลู่ คือ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่
ความแข็งกระด้าง กรรมคือความแข็งกระด้าง
คำว่า กสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม) อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ากสาวะ โทสะ ชื่อว่า
กสาวะ โมหะ ชื่อว่ากสาวะ โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากสาวะ
คำว่า โมหะ ได้แก่ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ใน
ส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความ
ไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดย
ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่
ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความ
ลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ข่ายคืออวิชชา บ่วงคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ1
ความลบหลู่ กสาวะ และโมหะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นคายเสียแล้ว ทิ้ง
กำจัดได้แล้ว ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น
ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า
ไม่มีความลบหลู่ กำจัดกสาวะ(กิเลสดุจน้ำย้อม)และโมหะได้แล้ว

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1067/273

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :458 }